ยินดีต้อนรับเข้าสู่ เว็บไซต์ องค์การบริหารส่วนตำบลโคกกลาง
 
 
อำนาจหน้าที่ของอบต.
สภาพทั่วไป
ตราสัญลักษณ์
สภาพเศรษฐกิจ
สภาพทางสังคม
บริการขั้นพื้นฐาน
โครงสร้างอบต.
ประกาศ อบต.โคกกลาง
ประมวลจริยธรรมสำหรับเจ้าหน้าที่ของรัฐ
กฎหมายที่เกี่ยวข้องเกี่ยวกับ อปท
การขับเคลื่อนจริยธรรม
แบบการรายงานผลการนำการประเมินจริยธรรมไปใช้ในกระบวนการบริหารทรัพยากรบุคคล
มาตรการส่งเสริมคุณธรรมและความโปร่งใสภายในหน่วยงาน
รายงานผลการดำเนินการเพื่อส่งเสริมคุณธรรมและความโปร่งใสภายในหน่วยงาน พ.ศ.2566
คู่มือประชาชน
ข้อมูลการร้องเรียน/ร้องทุกข์
ศูนย์ข้อมูลสำหรับนักท่องเที่ยว อบต.โคกกลาง
แผนปฏิบัติการส่งเสริมคุณธรรม พ.ศ.2567
รายงานการรับทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นไดโดยธรรมจรรยา
อำนาจหน้าที่ขององค์การบริหารส่วนตำบลโคกกลาง
รายผลการดำเนินการ ITA r.L.2566
 
คณะผู้บริหาร
สมาชิกสภาอบต.
หัวหน้าส่วนราชการ
หน่วยตรวจสอบภายใน
สำนักปลัด
กองคลัง
กองช่าง
กองการศึกษาฯ
 
สำนักปลัด
กองคลัง
กองช่าง
กองการศึกษาศาสนาและวัฒนธรรม
 
  รายงานกิจการสภา
  ประกาศ
  ข่าวประชาสัมพันธ์
  คู่มือประชาชน
  ศูนย์ดำรงธรรม
  กองทุนหลักประกันสุขภาพ
  เบี้ยผู้สูงอายุ
  อปพร.
  ข่าวเด่น
  จดหมายข่าว
  ศูนย์ข้อมูลข่าวสาร
  แบบสอบถามความพึงพอใจ
  ภาพกิจกรรม
  ผลิตภัณฑ์ตำบล
  ผลงานเด่น
  สถานที่สำคัญ
 งานพัฒนาชุมชน
 การประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงาน (ITA) 65
 การประเมินคุณธรรมและความโปร่งใส (ITA) 2567
 โครงการกำจัดขยะ อบต.โคกกลาง
 
 แผนดำเนินงาน
  แผนการดำเนินงานและงบประมาณ
  แผนยุทธศาสตร์
  แผนพัฒนาท้องถิ่น
  แผนและความก้าวหน้าในการดำเนินงานและการใช้จ่ายงบประมาณประจำปี
  รายงานผลการดำเนินงานประจำปี
 แผนดำเนินงาน
 แผนดำเนินงาน
 
การปฏิบัติงาน
  คู่มือหรือแนวทางการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่
 
การให้บริการ
  คู่มือหรือแนวทางการให้บริการสำหรับผู้รับบริการหรือผู้มาติดต่อ
  ข้อมูลสถิติการให้บริการ
 มาตรฐานการปฏิบัติงาน
 
แผนการใช้จ่ายงบประมาณ
  ข้อบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปี
  แผนการใช้จ่ายงบประมาณประจำปี
 
การจัดซื้อจัดจ้างหรือการจัดหาพัสดุ
  รายการการจัดซื้อจัดจ้างหรือการจัดหาพัสดุ
  ประกาศจัดซื้อจัดจ้าง
  ผลประกาศการจัดซื้อจัดจ้าง
  ความก้าวหน้าการจัดซื้อจัดจ้างหรือการจัดหาพัสดุ
  รายงานสรุปผลการจัดซื้อจัดจ้างหรือการจัดหาพัสดุประจำปี
 
  แผนการบริหารและพัฒนาทรัพยากรบุคคล
  รายงานผลการบริหารและพัฒนาทรัพยากรบุคคลประจำปี
  ประมวลจริยธรรมสำหรับเจ้าหน้าที่ของรัฐ
  การขับเคลื่อนจริยธรรม
 นโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล
 
การจัดการเรื่องร้องเรียนการทุจริตและ
ประพฤติมิชอบ
  แนวปฏิบัติการจัดการเรื่องร้องเรียนการทุจริตและประพฤติมิชอบ
  ข้อมูลสถิติเรื่องร้องเรียนการทุจริตและประพฤติมิชอบ
 ช่องทางแจ้งเรื่องร้องเรียนการทุจริตและประพฤติมิชอบ
  แจ้งเรื่องร้องเรียนการทุจริตและประพฤติมิชอบ  
 
การเปิดโอกาสให้เกิดการมีส่วนร่วม
  การเปิดโอกาสให้เกิดการมีส่วนร่วม
ช่องทางการรับฟังความคิดเห็น  
 
การดำเนินการเพื่อป้องกันการทุจริตในประเด็นสินบน
นโยบาย No Gift Policy
  ประกาศเจตนารมณ์ นโยบาย no gift policy จากการปฏิบัติหน้าที่
  การสร้างวัฒนธรรม no gift policy
  รายงานผลตามนโยบาย no gift policy
  รายงานการรับทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใดโดยธรรมจรรยา
 
การประเมินความเสี่ยงเพื่อป้องกันการทุจริต
  การประเมินความเสี่ยงการทุจริตในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับสินบน
  รายงานผลการดำเนินการเพื่อจัดการความเสี่ยงการทุจริตและประพฤติมิชอบประจำปี
 
การส่งเสริมคุณธรรมและความโปร่งใส
แผนป้องกันการทุจริต
  แผนปฏิบัติการป้องกันการทุจริต
  รายงานผลการดำเนินการป้องกันการทุจริตประจำปี
 
มาตรการส่งเสริมคุณธรรมและความโปร่งใสภายในหน่วยงาน
  มาตรการส่งเสริมคุณธรรมและความโปร่งใสภายในหน่วยงาน
  รายงานผลการดำเนินการเพื่อส่งเสริมคุณธรรมและความโปร่งใส่ภายในหน่วยงาน
 
  พ.ร.บ./พ.ร.ก.
  กฎกระทรวง/ระเบียบฯ
  ระเบียบกฏหมายอื่นๆ
 กฎหมายที่เกี่ยวข้องเกี่ยวกับ อปท
 
 
 
แบบสำรวจความคิดเห็น
ท่านต้องการให้ อบต. พัฒนาในส่วนใดมากที่สุด
ด้านการคมนาคม
ด้านการประชาสัมพันธ์ข้อมูล
ด้านการส่งเสริมอาชีพในตำบล
ด้านระบบอินเตอร์เน็ตตำบล
ด้านระบบสาธารณูปโภค
 
 
 
  18.97.9.171    
 
 
 

nogift policy

 
 
 
กองคลัง
______________________________________________________________________________________________
กองคลัง
 

กองคลัง
มีอำนาจหน้าที่ความรับผิดชอบเกี่ยวกับ การเงิน การเบิกจ่ายการฝากเงินการเก็บรักษาเงินการตรวจเงินการหักภาษี เงินได้และนำส่งภาษี การตัดโอนเงินเดือนรวบรวมสถิติเงิน ได้ประเภทต่าง ๆ การรายงานเงินคงเหลือประจำวัน งานขอ อนุมัติเบิกเงินตัดปีและขอขยายเวลาเบิกจ่าย งาน จัดทำงบและแสดงฐานะทางการเงิน งบทรัพย์สิน หนี้สิน งบโครงการเงิน สะสมงานจัดทำบัญชีทุกประเภทงานทะเบียนคุมเงินรายได้-รายจ่าย งานจัดเก็บรายได้และพัฒนารายได้ การจัดหาผล ประโยชน์ จากสิ่งก่อสร้างและทรัพย์สิน งานจัดทำ/ตรวจสอบบัญชีและการรับเงินในกิจการประปา งานจัดเก็บขยะมูลฝอย และสิ่งปฏิกูล รวมถึงงานอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องหรือได้รับมอบหมายโดยแบ่งส่วนราชการภายใน ออกเป็น 4 งาน คือ

งานการเงิน

มีอำนาจหน้าที่และความรับผิดชอบเกี่ยวกับ การเงิน การเบิกจ่าย การฝากเงิน การเก็บรักษาเงิน การตรวจเงิน งานจัดทำฎีกาเบิกจ่ายเงิน การหักภาษีเงินได้และนำส่งภาษี การตัดโอนเงินเดือน งานเก็บรักษาเงิน งานขออนุมัติเบิกเงินตัดปี และขอขยายเวลาเบิกจ่าย รายงานเงิน คงเหลือประจำวัน

งานบัญชี

มีหน้าที่ความรับผิดชอบ งานจัดทำบัญชีทุกประเภท งานทะเบียนคุมเงินรายได้-รายจ่าย รวบรวมสถิติเงินได้ ประเภทต่าง ๆ งานจัดทำงบและแสดงฐานะการเงิน งบทรัพย์สิน หนี้สิน งบโครงการเงินสะสม

งานพัฒนาและจัดเก็บรายได้

มีหน้าที่ความรับผิดชอบเกี่ยวกับ งานจัดเก็บรายได้และพัฒนารายได้ งานภาษีอากร ค่าธรรมเนียมการจัดหา ผลประโยชน์จากสิ่งก่อสร้างและทรัพย์สิน งานจัดทำ/ตรวจสอบบัญชี และการรับเงินในกิจการประปา และงานจัดเก็บขยะมูล ฝอยและสิ่งปฏิกูล งานควบคุม กิจการค้าและค่าปรับ งานทะเบียนควบคุมและเร่งรัดรายได้

งานทะเบียนทรัพย์สินและพัสดุ

มีหน้าที่ความรับผิดชอบ งานทะเบียนทรัพย์สินและแผนที่ภาษี งานพัสดุ งานขออนุมัติจัดซื้อจัดจ้าง งานทะเบียนเบิกจ่าย วัสดุครุภัณฑ์และยานพาหนะ

กระบวนการ  ขั้นตอน  และวิธีปฏิบัติในการให้บริการประชาชนของส่วนการคลัง
กำหนดการยื่นแบบชำระภาษ
1. ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง

2. ภาษีป้าย ยื่นแบบระหว่าง เดือนมกราคม – มีนาคม ของทุกปี

การจัดเก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง
         ขั้นตอนการให้บริการ
1. ผู้มีหน้าที่เสียภาษีที่ดินและสิ่งปลุกสร้างยื่นเอกสาร  
2. เจ้าหน้าที่ออกพื้นที่สำรวจ  แจ้งประเมิน  
3. ผู้มีหน้าที่เสียภาษีชำระเงินและรับใบเสร็จรับเงิน 
         เอกสารประกอบการพิจารณา
1. สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน และ สำเนาทะเบียนบ้าน
2. เอกสารสิทธิ์ต่างๆ เช่น สำเนาโฉนด สปก.4-01
3. ขนาดของสิ่งปลูกสร้าง

ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง

1. ทรัพย์สินที่ต้องเสียภาษี คือ ที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้าง
1.1 ที่ดิน หมายความว่า พื้นดิน และให้หมายความรวมถึงพื้นที่ที่เป็นภูเขาหรือที่มีน้ําด้วย (แม่น้ําและทะเลไม่ถือเป็นที่ดินตามพระราชบัญญัตินี้) ที่ดินที่ต้องเสียภาษี ได้แก่
(1) ที่ดินที่เป็นกรรมสิทธิ์ของบุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคล เช่น โฉนด ตราจอง ตราจอง ที่ตราว่าได้ทําประโยชน์
(2) ที่ดินที่ไม่เป็นกรรมสิทธิ์ของบุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคล แต่อยู่ในความครอบครองของบุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคล เช่น นส.๓, นส.๓ ก และ นส.๓ ข สปก. ๔, ก.ส.น., ส.ค.๑, นค.๑, นค.๓, ส.ท.ก.๑ ก, ส.ท.ก.๒ ก, นส.๒ (ใบจอง) และที่ดินอันเป็นทรัพย์สินของรัฐซึ่งมีการเข้าไปครอบครองหรือทําประโยชน์ ฯลฯ เป็นต้น
1.2 “สิ่งปลูกสร้าง” หมายความว่า โรงเรือน อาคาร ตึก หรือสิ่งปลูกสร้างอย่างอื่นที่บุคคลอาจเข้าอยู่อาศัยหรือใช้สอยได้ หรือที่ใช้เป็นที่เก็บสินค้าหรือประกอบการอุตสาหกรรมหรือพาณิชยกรรม และให้หมายความรวมถึงห้องชุดตามกฎหมายว่าด้วยอาคารชุดที่ได้ออกหนังสือแสดงกรรมสิทธิ์ห้องชุดแล้ว หรือแพที่บุคคลอาจใช้อยู่อาศัยได้หรือที่มีไว้เพื่อหาผลประโยชน์ด้วย
»  นิยามคําว่าสิ่งปลูกสร้างตามพระราชบัญญัตินี้มีเจตนารมณ์ที่ต่างออกไปจากนิยามของคําว่า “โรงเรือนหรือสิ่งปลูกสร้างอย่างอื่นตามพระราชบัญญัติภาษีโรงเรือนและที่ดิน พุทธศักราช 2475 ดังนั้น การพิจารณาว่าอะไรเป็นสิ่งปลูกสร้างจึงไม่พิจารณารวมถึงเครื่องจักรซึ่งเป็นส่วนควบของโรงเรือนแต่อย่างใด
»  กรณีสิ่งปลูกสร้างที่อยู่ระหว่างก่อสร้างยังไม่แล้วเสร็จ และยังไม่สามารถใช้ประโยชน์ได้ไม่ถือเป็นสิ่งปลูกสร้างที่ต้องเสียภาษีตามพระราชบัญญัตินี้

2. ทรัพย์สินที่อยู่ในข่ายได้รับการยกเว้นภาษี
»  พระราชบัญญัติภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง พ.ศ. 2562 ได้กําหนดรายละเอียดของทรัพย์สิน ที่ได้รับการยกเว้นไม่ต้องเสียภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างไว้ในมาตรา 8 ดังนี้
2.1 ทรัพย์สินของรัฐหรือหน่วยงานของรัฐซึ่งใช้ในกิจการของรัฐหรือของหน่วยงานของรัฐ หรือในกิจการสาธารณะที่มิได้ใช้หาผลประโยชน์ เช่น ที่ดินของมหาวิทยาลัยซึ่งได้รับการบริจาคแต่ยังมิได้ใช้ประโยชน์ในกิจการของมหาวิทยาลัย หรือที่ดินของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยที่ยังมิได้ใช้ประโยชน์ในกิจการของหน่วยงาน เป็นต้น
2.2 ทรัพย์สินที่เป็นที่ทําการองค์การสหประชาชาติ ทบวงการชํานัญพิเศษขององค์การสหประชาชาติหรือองค์การระหว่างประเทศอื่น ซึ่งประเทศไทยมีข้อผูกพันที่ต้องยกเว้นภาษีให้ตามสนธิสัญญาหรือความตกลงอื่นใด เช่น ที่ดินและอาคารที่ทําการองค์การสหประชาชาติ เป็นต้น
2.3 ทรัพย์สินที่เป็นที่ทําการสถานทูตหรือสถานกงสุลของต่างประเทศ ซึ่งเป็นไปตามหลักถ้อยทีถ้อยปฏิบัติต่อกัน เช่น ที่ดินและอาคารที่เป็นที่ตั้งของสถานทูตต่างๆ เป็นต้น
2.4 ทรัพย์สินของสภากาชาดไทย เช่น ที่ดินและอาคารของสถานเสาวภา เป็นต้น
2.5 ทรัพย์สินที่เป็นศาสนสมบัติไม่ว่าของศาสนาใดที่ใช้เฉพาะเพื่อการประกอบศาสนกิจหรือกิจการสาธารณะ หรือทรัพย์สินที่เป็นที่อยู่ของสงฆ์ นักพรต นักบวช หรือบาทหลวง ไม่ว่าศาสนาใด หรือทรัพย์สินที่เป็นศาลเจ้าที่มิได้ใช้หาผลประโยชน์ เช่น ที่ดินและสิ่งปลูกสร้างภายในวัดซึ่งใช้ประกอบศาสนกิจ เป็นต้น
2.6 ทรัพย์สินที่ใช้เป็นสุสานสาธารณะหรือฌาปนสถานสาธารณะที่มิได้รับประโยชน์ตอบแทน เช่น  ที่ฝังศพที่ไม่คิดค่าบริการ เป็นต้น
2.7 ทรัพย์สินที่เป็นของมูลนิธิหรือองค์การหรือสถานสาธารณกุศลตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังประกาศกําหนด เฉพาะที่มิได้ใช้หาผลประโยชน์ จึงจะได้รับการยกเว้นภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง เช่น ที่ดินและสิ่งปลูกสร้างของมูลนิธิ หรือสมาคม ตามประกาศกระทรวงการคลัง กําหนดให้ทรัพย์สินของมูลนิธิหรือองค์การหรือสถานสาธารณกุศลตามประกาศกระทรวงการคลังว่าด้วยภาษีเงินได้และภาษีมูลค่าเพิ่มที่ออกตามความในมาตรา 47 (7) (ข) แห่งประมวลรัษฎากร เฉพาะที่มิได้ใช้หาผลประโยชน์
2.8 ทรัพย์สินของเอกชนเฉพาะส่วนที่ได้ยินยอมให้ทางราชการจัดให้ใช้เพื่อสาธารณประโยชน์ตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังประกาศกําหนด เช่น ทรัพย์สินที่ประชาชนในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นได้ใช้ประโยชน์ร่วมกัน โดยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและเจ้าของทรัพย์สินร่วมกันจัดทําข้อตกลงให้ใช้ทรัพย์สินเพื่อสาธารณะประโยชน์เป็นหนังสือลงลายมือชื่อทั้งสองฝ่าย และยินยอมให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นใช้เพื่อสาธารณะประโยชน์ตลอดทั้งปีภาษี รวมทั้งต้องปิดประกาศความยินยอมให้ใช้ทรัพย์สินเพื่อสาธารณะ ณ ที่ทําการขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และในที่ซึ่งทรัพย์สินนี้ตั้งอยู่
2.9 ทรัพย์ส่วนกลางที่มีไว้เพื่อใช้หรือเพื่อประโยชน์ร่วมกันสําหรับเจ้าของร่วมตามกฎหมายว่าด้วยอาคารชุด เช่น สระว่ายน้ํา ห้องฟิตเนส และสวนสาธารณะในพื้นที่ส่วนกลางของอาคารชุด เป็นต้น
2.10 ที่ดินอันเป็นสาธารณูปโภคตามกฎหมายว่าด้วยการจัดสรรที่ดิน เช่น ถนน สวน หรือสนามเด็กเล่น เป็นต้น
2.11 ที่ดินอันเป็นพื้นที่สาธารณูปโภคตามกฎหมายว่าด้วยการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย  เช่น ถนนในเขตนิคมอุตสาหกรรม
2.12 ทรัพย์สินอื่นตามที่กําหนดในกฎกระทรวง เช่น ทรัพย์สินพระมหากษัตริย์เฉพาะที่ไม่ได้ใช้หาผลประโยชน์ ทรัพย์สินของรัฐวิสาหกิจที่อยู่ระหว่างการพัฒนาและยังไม่ได้ใช้หาผลประโยชน์ ทรัพย์สินที่เป็นโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคม เป็นต้น ทั้งนี้ ตามกฎกระทรวง ฉบับที่ .. (พ.ศ. ….) ออกตามความในพระราชบัญญัติภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง พ.ศ. 2562 กําหนดให้ยกเว้น

3. ฐานภาษี คือ มูลค่าทั้งหมดของที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้าง โดยการคํานวณมูลค่าของที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้างเป็นไปตามราคาประเมินทุนทรัพย์ของอสังหาริมทรัพย์เพื่อเรียกเก็บค่าธรรมเนียมจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมตามประมวลกฎหมายที่ดิน ที่คณะอนุกรรมการประจําจังหวัดกําหนดโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการกําหนดราคาประเมินทุนทรัพย์
»  ฐานภาษี  คือ  มูลค่าทั้งหมดของที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้าง โดยการคํานวณมูลค่าของที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้าง เป็นไป
ตามหลักเกณฑ์ ดังนี้ (มาตรา 32)
(1) ที่ดิน ให้ใช้ราคาประเมินทุนทรัพย์ที่ดินเป็นเกณฑ์ในการคํานวณ
(2) สิ่งปลูกสร้าง ให้ใช้ราคาประเมินทุนทรัพย์สิ่งปลูกสร้างเป็นเกณฑ์ในการคํานวณ
(3) สิ่งปลูกสร้างที่เป็นห้องชุด ให้ใช้ราคาประเมินทุนทรัพย์ห้องชุดเป็นเกณฑ์ในการคํานวณ

4. ราคาประเมินทุนทรัพย์ที่ดิน สิ่งปลูกสร้าง หรือสิ่งปลูกสร้างที่เป็นห้องชุด คือ ราคาประเมินทุนทรัพย์ของอสังหาริมทรัพย์เพื่อเรียกเก็บค่าธรรมเนียมจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมตามประมวลกฎหมายที่ดินที่คณะอนุกรรมการประจําจังหวัดกําหนดโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการกําหนดราคาประเมินทุนทรัพย์และเป็นบัญชีที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นได้รับแจ้งจากกรมธนารักษ์หรือสํานักงาน ธนารักษ์พื้นที่แล้วแต่กรณีตามมาตรา ๓๖ (มาตรา 38 แห่งพระราชบัญญัติการประเมินราคาทรัพย์สินเพื่อประโยชน์แห่งรัฐ พ.ศ. 2562  กําหนดให้บรรดาบทบัญญัติแห่งกฎหมาย กฎ ระเบียบ ข้อบังคับ ประกาศ คําสั่งหรือมติคณะรัฐมนตรีใดที่อ้างถึงราคาประเมินทุนทรัพย์ คณะกรรมการกําหนดราคาประเมินทุนทรัพย์ และคณะอนุกรรมการประจําจังหวัดตามประมวลกฎหมายที่ดิน ให้ถือว่าบทบัญญัติแห่งกฎหมาย กฎ ระเบียบ ข้อบังคับ ประกาศ คําสั่งหรือมติคณะรัฐมนตรีนั้นอ้างถึง ราคาประเมินทรัพย์สิน คณะกรรมการ และคณะกรรมการประจําจังหวัดตามพระราชบัญญัติการประเมินราคาทรัพย์สินเพื่อประโยชน์แห่งรัฐ พ.ศ. 2562)

5. ผู้มีหน้าที่เสียภาษี คือ
5.1 บุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคลซึ่งเป็นเจ้าของที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้าง เช่น ทรัพย์สินของพรรคการเมือง ซึ่งเป็นนิติบุคคลตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ. 2560 ทรัพย์สินของบริษัทจํากัด ห้างหุ้นส่วนจํากัด หรือบริษัทมหาชนจํากัด เป็นต้น
5.2 ผู้ครอบครองหรือทําประโยชน์ในที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้างอันเป็นทรัพย์สินของรัฐ ไม่ว่าจะเป็นการเข้าไปทําประโยชน์หรือครอบครองโดยชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ เช่น กรมธนารักษ์นําทรัพย์สินไปให้เช่าผู้เช่าในฐานะผู้ครอบครองทรัพย์สินของรัฐเป็นผู้มีหน้าที่เสียภาษี
5.3 ผู้มีหน้าที่ชําระภาษีแทน ได้แก่
(1) ผู้จัดการมรดกหรือทายาท ในกรณีผู้เสียภาษีถึงแก่ความตาย
(2) ผู้จัดการทรัพย์สิน กรณีที่ผู้เสียภาษีเป็นผู้ไม่อยู่ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยสาบสูญ
(3) ผู้แทนโดยชอบธรรม ผู้อนุบาลหรือผู้พิทักษ์ ในกรณีที่ผู้เสียภาษีเป็นผู้เยาว์คนไร้ความสามารถหรือคนเสมือนไร้ความสามารถ
(4) ผู้แทนของนิติบุคคล ในกรณีที่ผู้เสียภาษีเป็นนิติบุคคล ทั้งนี้ จะต้องมีหนังสือมอบอํานาจเป็นหลักฐานมาแสดงต่อองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเพื่อเก็บไว้เป็นหลักฐานด้วย
(5) ผู้ชําระบัญชี ในกรณีที่ผู้เสียภาษีเป็นนิติบุคคลเลิกกันโดยมีการชําระบัญชี
(6) เจ้าของรวมคนใดคนหนึ่ง ในกรณีที่ทรัพย์สินที่ต้องเสียภาษีเป็นของบุคคลหลายคนรวมกัน
5.4 กรณีที่ที่ดินและสิ่งปลูกสร้างบนที่ดินนั้นเป็นของต่างเจ้าของกัน ให้เจ้าของที่ดินและเจ้าของสิ่งปลูกสร้างนั้นเป็นผู้เสียภาษี กรณีที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้างที่ตนเป็นเจ้าของ เช่น เอกชนเช่าที่ดินของสํานักงานทรัพย์สินพระมหากษัตริย์เพื่อปลูกสร้างบ้านอยู่อาศัยบนที่ดินของสํานักงานทรัพย์สินพระมหากษัตริย์สํานักงานทรัพย์สินพระมหากษัตริย์เป็นผู้เสียภาษีเฉพาะในส่วนของที่ดิน และเอกชนเป็นผู้เสียภาษีเฉพาะในส่วนของสิ่งปลูกสร้างที่ตนเป็นเจ้าของ

6. การยกเว้นมูลค่าของฐานภาษี
»  ให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นหักมูลค่าของฐานภาษีออกก่อนที่จะนําไปคํานวณภาษี หากเข้าหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้
1. ที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้างที่เจ้าของซึ่งเป็นบุคคลธรรมดาใช้ประโยชน์ในการประกอบเกษตรกรรมอยู่
ในเขตองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นใด ให้ได้รับยกเว้นมูลค่าของฐานภาษีของที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้างนั้นรวมกันไม่
เกิน 50 ล้านบาท  โดยมีวิธีการคํานวณ ดังนี้
(1.1) กรณีเป็นเจ้าของแปลงเดียว ให้นํามูลค่าของที่ดินและสิ่งปลูกสร้างนั้นหักด้วย 50 ล้านบาท  ส่วนที่เหลือคือมูลค่าของฐานภาษี หากมูลค่าของฐานภาษีที่คํานวณได้ดังกล่าวมีมูลค่าน้อยกว่าหรือเท่ากับศูนย์
ให้มูลค่าของฐานภาษีดังกล่าวเท่ากับศูนย์
(1.2) กรณีเป็นเจ้าของมากกว่า 1 แปลง ให้นํามูลค่าที่ดินและสิ่งปลูกสร้างนั้นหักด้วย  50 ล้านบาท โดยให้หักมูลค่าของที่ดินและสิ่งปลูกสร้างของแปลงที่มีมูลค่าสูงสุดก่อนแล้วหักมูลค่าของที่ดินและสิ่งปลูกสร้างที่มีมูลค่าสูงในลําดับรองลงมาตามลําดับ เมื่อหักครบ 50 ล้านบาทแล้ว มูลค่าทรัพย์สินที่เหลือแต่ละแปลงคือมูลค่าของฐานภาษี หากมูลค่าของฐานภาษีดังกล่าวมีมูลค่าน้อยกว่าหรือเท่ากับศูนย์ ให้มูลค่าของฐานภาษีดังกล่าวเท่ากับศูนย์
2. ที่ดินและสิ่งปลูกสร้างที่เจ้าของซึ่งเป็นบุคคลธรรมดาใช้เป็นที่อยู่อาศัยและมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้าน  ในวันที่ 1 มกราคมของปีภาษีนั้น ให้ได้รับยกเว้นมูลค่าของฐานภาษีไม่เกิน 50 ล้านบาท โดยมีวิธีการคํานวณ คือ  ให้นํามูลค่าของที่ดินและสิ่งปลูกสร้างหักด้วย 50 ล้านบาท ส่วนที่เหลือคือมูลค่าของฐานภาษี หากมูลค่าของฐานภาษีที่คํานวณได้ดังกล่าวมีมูลค่าน้อยกว่าหรือเท่ากับศูนย์ ให้มูลค่าของฐานภาษีดังกล่าวเท่ากับศูนย์
3. กรณีที่บุคคลธรรมดาเป็นเจ้าของสิ่งปลูกสร้าง แต่ไม่ได้เป็นเจ้าของที่ดินและใช้สิ่งปลูกสร้างดังกล่าว เป็นที่อยู่อาศัยและมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้าน ให้ได้รับยกเว้นมูลค่าของฐานภาษีไม่เกิน 10 ล้านบาท โดยมีวิธีการคํานวณ คือ ให้นํามูลค่าของสิ่งปลูกสร้างนั้นหักด้วย 10 ล้านบาท ส่วนที่เหลือคือมูลค่าของฐานภาษี หากมูลค่าของฐานภาษีที่คํานวณได้ดังกล่าวมีมูลค่าน้อยกว่าหรือเท่ากับศูนย์ ให้มูลค่าของฐานภาษีดังกล่าวเท่ากับศูนย์

ข้อสังเกต
(1) ใน 3 ปีแรกของการจัดเก็บภาษี คือ ปี 2563 – 2565 ที่ดินของบุคคลธรรมดาที่ใช้ประโยชน์ในการประกอบเกษตรกรรมให้ได้รับยกเว้นการจัดเก็บภาษี
(2) ที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้างของนิติบุคคลไม่ได้รับยกเว้นมูลค่าของฐานภาษี
(3) กรณีเจ้าของที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง หรือเจ้าของสิ่งปลูกสร้างต้องย้ายชื่อออกจากทะเบียนบ้านของตนเพราะเหตุจําเป็นทางราชการ ที่ดินและสิ่งปลูกสร้างยังคงได้รับการยกเว้นมูลค่าของฐานภาษี โดยผู้เป็นเจ้าของที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง หรือเจ้าของสิ่งปลูกสร้างต้องนําหนังสือรับรองเหตุจําเป็นทางราชการในการย้ายชื่อออกจากทะเบียน ซึ่งออกโดยหน่วยงานต้นสังกัดที่ทําให้ต้องย้ายชื่อออกจากทะเบียนบ้านนั้นมาแสดงต่อองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่เป็นที่ตั้งของที่ดินและสิ่งปลูกสร้างนั้น แต่การย้ายชื่อนั้นต้องไม่เป็นการย้ายเข้าในทะเบียนบ้านของที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง หรือสิ่งปลูกสร้างอื่น ซึ่งบุคคลดังกล่าวเป็นเจ้าของ

7.  อัตราภาษี
(1) เพดานอัตราภาษีแยกตามการใช้ประโยชน์ได้  ดังนี้
1.1 ที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้างที่ใช้ประโยชน์ในการประกอบเกษตรกรรม อัตราภาษีไม่เกินร้อยละ  0.15 ของฐานภาษี
1.2 ที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้างที่ใช้ประโยชน์เป็นที่อยู่อาศัย อัตราภาษีไม่เกินร้อยละ 0.3  ของฐานภาษี
1.3 ที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้างที่ใช้ประโยชน์อื่นนอกจาก (1) หรือ (2) อัตราภาษีไม่เกินร้อยละ  1.2 ของฐานภาษี
1.4 ที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้างที่ทิ้งไว้ว่างเปล่าหรือไม่ได้ทําประโยชน์ตามควรแก่สภาพอัตราภาษีไม่เกินร้อยละ 1.2 ของฐานภาษี
(2) อัตราที่ใช้จัดเก็บจริง ใน 2 ปีแรก คือปี พ.ศ. 2563 และปี พ.ศ. 2564 จะใช้อัตราภาษีตามมูลค่าของฐานภาษี ดังนี

(3) ตั้งแต่ปี 2565 อัตราที่ใช้ในการจัดเก็บจะถูกกําหนดโดยตราเป็นพระราชกฤษฎีกา กรณีที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นใดประสงค์จะจัดเก็บภาษีในอัตราที่สูงกว่าพระราชกฤษฎีกาสามารถดําเนินการได้โดยตราข้อบัญญัติท้องถิ่นกําหนดอัตราภาษีที่ใช้จัดเก็บภายในเขตองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นนั้นได้ แต่ต้องไม่เกินอัตราที่กําหนดตามมาตรา 37 

8. การลดและการยกเว้นภาษี
ที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้างอาจได้รับการลดหรือยกเว้นภาษีหากเข้าหลักเกณฑ์ ดังต่อไปนี้
1. ลดภาษีสําหรับที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้างบางประเภทตามที่กําหนดในพระราชกฤษฎีกา ดังนี้
1.1 ลดภาษีให้ร้อยละ 50 ของจํานวนภาษีที่จะต้องเสียสําหรับที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง หรือ
สิ่งปลูกสร้าง หรือห้องชุด ที่เจ้าของซึ่งเป็นบุคคลธรรมดาใช้เป็นที่อยู่อาศัยและมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านในวันที่ 1
มกราคมของปีภาษีนั้น ที่ได้โอนสิทธิในหนังสือแสดงสิทธิหรืออสังหาริมทรัพย์อื่นรับเป็นมรดก ก่อนวันที่ ๑๓ มีนาคม 2562 แต่ไม่ใช้บังคับกับผู้รับโอนที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง หรือห้องชุดในทอดต่อ ๆ ไป
1.2 ลดภาษีร้อยละ 90 ของจํานวนภาษีที่จะต้องเสียของทรัพย์สิน ดังต่อไปนี้
1.2.1 อสังหาริมทรัพย์รอการขายของสถาบันการเงินตามกฎหมายว่าด้วยธุรกิจสถาบันการเงินเป็นเวลาไม่เกิน 5 ปีนับจากวันที่ได้กรรมสิทธิ์
1.2.2 อสังหาริมทรัพย์รอการขายของบริษัทบริหารสินทรัพย์ตามกฎหมายว่าด้วยบริษัท บริหารสินทรัพย์ เป็นเวลาไม่เกิน 5 ปีนับจากวันที่ได้กรรมสิทธิ์
1.2.3 อสังหาริมทรัพย์รอการขายของสถาบันการเงินที่มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้งขึ้นตามกฎหมายจัดตั้งสถาบันการเงินเฉพาะกิจ เป็นเวลาไม่เกิน 5 ปีนับจากวันที่ได้กรรมสิทธิ์
1.2.4 ที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้างที่นํามาพัฒนาเป็นโครงการจัดสรรเพื่ออยู่อาศัย หรืออุตสาหกรรม ตามกฎหมายว่าด้วยการจัดสรรที่ดิน เป็นเวลาไม่เกิน 3 ปี นับจากวันที่ได้รับอนุญาตให้ทําการจัดสรรที่ดินดังกล่าว
1.2.5 ที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้างที่นํามาพัฒนาเป็นอาคารชุดเพื่ออยู่อาศัยตามกฎหมายว่าด้วยอาคารชุด เป็นเวลาไม่เกิน 3 ปี นับจากวันที่ได้รับอนุญาตก่อสร้างอาคารชุดดังกล่าว
1.2.6 ที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้างที่นํามาพัฒนาเป็นนิคมอุตสาหกรรมตามกฎหมายว่าด้วยการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย เป็นเวลาไม่เกิน 3 ปี นับจากวันที่ได้รับอนุญาตจัดตั้งนิคมอุตสาหกรรม  ดังกล่าว
1.2.7 ที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้างตามกฎหมายว่าด้วยการจัดสรร กฎหมายว่าด้วยอาคารชุด หรือกฎหมายว่าด้วยการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยที่อยู่ระหว่างรอการขาย เป็นเวลาไม่เกิน 2 ปี นับจากวันที่  13 มีนาคม 2562
1.3 ลดภาษีร้อยละ 90 ของจํานวนภาษีที่จะต้องเสียสําหรับที่ดินและสิ่งปลูกสร้างที่ใช้ประโยชน์ในกิจการของสถานอุดมศึกษาและโรงเรียน ดังต่อไปนี้
1.3.1 สถานอุดมศึกษาของเอกชนซึ่งเป็นการศึกษาขั้นพื้นฐานตามกฎหมายว่าด้วยสถาบันอุดมศึกษาเอกชน

1.3.2 โรงเรียนตามกฎหมายว่าด้วยโรงเรียนเอกชน ได้แก่ โรงเรียนในระบบ และโรงเรียนนอกระบบ ประเภทสอนศาสนา ศูนย์การศึกษาอิสลามประจํามัสยิด (ตาดีกา) และสถาบันศึกษาปอเนาะ
1.4 ลดภาษีร้อยละ 90 ของจํานวนภาษีที่จะต้องเสียของทรัพย์สินที่ใช้เป็นสถานที่เล่นกีฬา สวนสัตว์ สวนสนุก หรือที่จอดรถสาธารณะ
1.5 ลดภาษีร้อยละ 90 ของจํานวนภาษีที่จะต้องเสียของทรัพย์สินที่เป็นโครงสร้างพื้นฐาน ด้านคมนาคม ดังต่อไปนี้
1.5.1 อสังหาริมทรัพย์ที่เป็นโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมทางอากาศ เฉพาะส่วนของที่ดินที่ใช้เป็นทางขึ้นลงอากาศยาน ทางขับ ลานจอดอากาศยาน และหลุดจอดอากาศยานระยะไกล
1.5.2 อสังหาริมทรัพย์ที่เป็นโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมทางบก ที่เป็นทางพิเศษและทางพิเศษระหว่างเมือง เฉพาะส่วนดังต่อไปนี้
(ก) ทางยกระดับ
(ข) ที่ดินที่ตั้งของถนนหรือทางยกระดับ
(ค) ที่ดินที่เป็นลานจอดรถโดยสารสาธารณะในสถานีขนส่งผู้โดยสาร
1.5.3 อสังหาริมทรัพย์ที่เป็นโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมทางราง เฉพาะส่วนดังต่อไปนี้
(ก) สิ่งปลูกสร้างที่ใช้เป็นเส้นทางเดินรถไฟฟ้า
(ข) ที่ดินที่ตั้งของเส้นทางเดินรถไฟฟ้าส่วนที่อยู่เหนือพื้นดิน
(ค) ที่ดินและสิ่งปลูกสร้างที่ใช้เป็นที่จอดรถยนต์สําหรับผู้โดยสารรถไฟฟ้า
1.6 ลดภาษีร้อยละ 50 ของจํานวนภาษีที่จะต้องเสียของทรัพย์สินที่เป็นโครงสร้างพื้นฐานด้านพลังงาน ดังต่อไปนี้
1.6.1 อสังหาริมทรัพย์ที่เป็นโครงสร้างพื้นฐานด้านพลังงาน เฉพาะส่วนของที่ดินและสิ่งปลูกสร้างที่ใช้เป็นโรงผลิตไฟฟ้า
1.6.2 อสังหาริมทรัพย์ที่เป็นโครงสร้างพื้นฐานด้านพลังงาน เฉพาะส่วนของที่ดินและสิ่งปลูกสร้างที่ใช้เป็นเขื่อน
2. ลดหรือยกเว้นภาษีในกรณีที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้างได้รับความเสียหายมากหรือถูกทําลายให้เสื่อมสภาพด้วยเหตุอันพ้นวิสัยที่จะป้องกันได้โดยทั่วไป โดยมีแนวทาง ดังนี้
2.1 เมื่อมีเหตุอันพ้นวิสัยที่จะป้องกันได้โดยทั่วไปเกิดขึ้นและเหตุดังกล่าวได้ยุติลงแล้ว ผู้บริหารท้องถิ่นอาจประกาศลดหรือยกเว้นภาษีในปีต่อไป โดยดําเนินการตามขั้นตอนดังนี้
(1) ประกาศให้ผู้เสียภาษีที่ประสงค์จะขอลดหรือยกเว้นภาษีมาลงทะเบียนแจ้งรายชื่อและรายละเอียดความเสียหายภายในระยะเวลา สถานที่ และวิธีการที่ผู้บริหารท้องถิ่นกําหนด
(2) ประกาศรายชื่อผู้เสียภาษีที่มาลงทะเบียน ณ สํานักงานหรือที่ทําการขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเป็นเวลาไม่น้อยกว่า 15 วัน
(3) แต่งตั้งเจ้าหน้าที่ดําเนินการสํารวจข้อมูลความเสียหายของผู้เสียภาษี
(4) จัดทําบัญชีรายชื่อ จํานวนพื้นที่และสัดส่วนของที่ดินและสิ่งปลูกสร้างที่ได้รับความเสียหายหรือถูกทําลาย และจํานวนภาษีที่เห็นควรลดหรือยกเว้นภาษีตามหลักเกณฑ์ดังนี้
(4.1) เสียหายไม่เกิน 2 ใน 3 ของจํานวนเนื้อที่ทั้งหมด ให้ลดภาษีตามส่วนที่เสียหาย
(4.2) เสียหายเกินกว่า 2 ใน 3 ของจํานวนเนื้อที่ทั้งหมด ให้ได้รับยกเว้นภาษี

(5) รายงานบัญชีตาม (4) รวมทั้งข้อเท็จจริงและเอกสารที่เกี่ยวข้องไปยังคณะกรรมการภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างประจําจังหวัดหรือรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยแล้วแต่กรณี เพื่อขอความเห็นชอบตามรอบระยะเวลาดังนี้
(5.1) รอบที่ 1 ภายในเดือนเมษายน
(5.2) รอบที่ 2 ภายในเดือนสิงหาคม
(5.3) รอบที่ 3 ภายในเดือนธันวาคม
(6) เมื่อได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างประจําจังหวัดหรือรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยแล้ว ให้ผู้บริหารท้องถิ่นดําเนินการลดหรือยกเว้นภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างแก่ผู้เสียภาษีในปีต่อไป
3. ลดหรือยกเว้นภาษีในกรณีที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้างของผู้เสียภาษีรายใดได้รับความเสียหาย หรือถูกรื้อถอน หรือทําลาย หรือชํารุดเสียหายจนเป็นเหตุให้ต้องซ่อมแซมในส่วนสําคัญ โดยมิได้มีสาเหตุมาจากผู้เสียภาษี โดยเนินการตามขั้นตอนดังนี้
3.1 ยื่นคําร้องต่อผู้บริหารท้องถิ่นภายใน 15 วัน นับแต่วันที่ที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้างได้รับความเสียหายฯ
3.2 ให้ผู้บริหารท้องถิ่นแต่งตั้งเจ้าหน้าที่ดําเนินการสํารวจข้อมูลความเสียหายของผู้เสียภาษี
3.3 ให้ผู้บริหารท้องถิ่นจัดทําบัญชีรายชื่อ จํานวนพื้นที่และสัดส่วนของที่ดินและสิ่งปลูกสร้างที่ได้รับความเสียหายฯ และจํานวนภาษีที่เห็นควรลดหรือยกเว้นภาษีตามหลักเกณฑ์ดังนี้
(1) เสียหายแต่สามารถใช้ประโยชน์ได้บางส่วน ให้ลดภาษีตามส่วนที่ไม่ได้ใช้ประโยชน์
(2) เสียหายจนไม่สามารถใช้ประโยชน์ได้ทั้งหมด ให้ได้รับยกเว้นภาษี
3.4 ให้ผู้บริหารท้องถิ่นรวบรวมและรายงานบัญชีตาม (3) รวมทั้งข้อเท็จจริงและเอกสารที่เกี่ยวข้องไปยังคณะกรรมการภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างประจําจังหวัดหรือรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยแล้วแต่กรณี เพื่อขอความเห็นชอบตามรอบระยะเวลาดังนี้
(1) รอบที่ 1 ภายในเดือนเมษายน
(2) รอบที่ 2 ภายในเดือนสิงหาคม
(3) รอบที่ 3 ภายในเดือนธันวาคม
3.5 เมื่อได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างประจําจังหวัดหรือรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยแล้ว ให้ผู้บริหารท้องถิ่นดําเนินการลดหรือยกเว้นภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างแก่ผู้เสียภาษีในปีต่อไป

9.  การคำนวณภาษี
1. การคำนวณภาษีสำหรับที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้างที่ใช้ประกอบการเกษตร
1.1 ให้คํานวณมูลค่าฐานภาษีรายแปลง
1.2 นํามูลค่าทุกแปลงมารวมกันเป็นฐานภาษี
1.3 นําฐานภาษีมาหักมูลค่าฐานภาษีที่ 50 ล้านบาทโดยหักจากแปลงที่มีราคาสูงสุดตามลําดับ
1.4 หลังจากหักฐานภาษี 50 ล้านบาทแล้ว คํานวณแยกเป็นรายแปลง แปลงใดมีพื้นที่ดินต่อกันให้นํามูลค่าฐานภาษีมารวมกันเพื่อคํานวณภาษี

2. การคำนวณภาษีสำหรับที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้างที่ใช้อยู่อาศัย
2.1 ให้คํานวณมูลค่าของที่ดิน
2.2 คํานวณมูลค่าของสิ่งปลูกสร้างและหักค่าเสื่อมตามตารางการหักค่าเสื่อม
2.3 นํามูลค่าของที่ดินและมูลค่าของสิ่งปลูกสร้างมารวมกัน มูลค่าที่ได้ถือเป็นฐานภาษี
2.4 นํามูลค่าฐานภาษีที่ได้ตามข้อ 1.2 มาหักฐานมูลค่าฐานภาษีที่ยกเว้นตามเกณฑ์ ดังนี้
(2.4.1) กรณีบ้านหลังแรก จะต้องมีเอกสารสิทธิที่ดินเป็นของตังเอง บ้านเป็นของตัวเองและมีชื่อในทะเบียนบ้าน ณ วันที่ 1 มกราคม 2563 ให้ยกเว้นมูลค่าฐานภาษี 50 ล้านบาท ส่วนที่เกินคิดในอัตรา ร้อยละ 0.03
(2.4.2) กรณีบ้านหลักแรก มีเอกสารสิทธิที่ดินเป็นของคนอื่น บ้านเป็นของตนเองและมีชื่อในทะเบียนบ้าน ณ วันที่ 1 มกราคม 2563 ให้ยกเว้นมูลค่าฐานภาษี 10 ล้านบาท ส่วนที่เกินให้คิดอัตราร้อยละ 0.02
(2.4.3) กรณีบ้านหลังอื่น ๆ หมายถึงไม่มีชื่อในทะเบียนบ้านแต่เป็นเจ้าของบ้านไม่มีการยกเว้นฐานภาษีให้คิดในอัตราร้อยละ 0.02

3. การคำนวณภาษีสำหรับห้องชุด
3.1 คํานวณหามูลค่าของห้องชุด โดยนําจํานวนเนื้อที่ห้องชุดไปคูณกับราคาประเมินของห้องชุด (ไม่ต้องหักค่าเสื่อมของห้องชุด) มูลค่าที่ได้ถือเป็นฐานภาษี
3.2 นํามูลค่าฐานภาษีไปหักฐานภาษีที่ได้รับยกเว้น กรณีบ้านหลังแรก จะต้องมีเอกสารสิทธิที่ดินเป็นของตังเอง บ้านเป็นของตัวเอง และมีชื่อในทะเบียนบ้าน ณ วันที่ 1 มกราคม 2563 ให้ยกเว้นมูลค่าฐานภาษี 50 ล้านบาท ส่วนที่เกินคิดในอัตรา ร้อยละ 0.03

4. การคำนวณภาษีสำหรับที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้างที่ใช้ประโยชน์อื่น
4.1 ให้คํานวณมูลค่าของที่ดิน
4.2 คํานวณมูลค่าของสิ่งปลูกสร้างและหักค่าเสื่อมตามตารางการหักค่าเสื่อม
4.3 นํามูลค่าของที่ดินและมูลค่าของสิ่งปลูกสร้างมารวมกัน มูลค่าที่ได้ถือเป็นฐานภาษี
4.4 นํามูลค่าฐานภาษีที่ได้ตามข้อ 4.3. มาคํานวณภาษีตามอัตราภาษีที่กําหนด

5. การคำนวณภาษีสำหรับที่ดินที่ทิ้งไว้ว่างเปล่าหรือไม่ได้ทำประโยชน์ตามควรแก่สภาพ
กรณีที่ 1 นาย ก มีที่ดิน 1 ไร่ ปลูกกล้วย 2 ต้น บนที่ดินแปลงดังกล่าว ราคาประเมินตารางวาละ 7,000 บาท (ไม่ได้เปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์มาตั้งแต่ปี 2561)
คํานวณมูลค่าของที่ดิน เนื้อที่ 1 ไร่ = 400 x 7,000 = 2,800,000 บาท  ใช้ประโยชน์ในที่ดินโดยปลูกกล้วย 2 ต้น มาตั้งแต่ปี 2561 ดังนั้น จึงถือเป็นที่ดินที่ไม่ได้ใช้ประโยชน์ตามควรแก่สภาพคํานวณภาษีในอัตราทิ้งไว้ว่างเปล่าหรือไม่ได้ทําประโยชน์ตามควรแก่สภาพ 2,800,000 x 0.3% = 8,400 บาท
กรณีที่ 2 นาย ก มีที่ดิน 1 ไร่ เดิมที่ดินดังกล่าวปลูกกล้วย 2 ต้น บนที่ดิน และไม่ได้มีการเปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์จนกระทั่งเดือนพฤศจิกายน 2562 นาย ก เอาที่ดินไปให้นาย ข เช่า นาย ข  ผู้เช่าเข้ามาทํานา ราคาประเมินตารางวาละ 7,000 บาท  คํานวณมูลค่าของที่ดิน เนื้อที่ 1 ไร่ = 400 x 7,000 บาท = 2,800,000 บาท
»»  เดือนมกราคม – เดือนตุลาคม 2562 นาย ก ไม่ได้ใช้ประโยชน์ในที่ดินตามควรแก่สภาพแต่เมื่อเดือนพฤศจิกายน 2562 นาย ก เอาที่ดินไปให้นาย ข เช่า ถือว่านาย ก ได้นําที่ดินไปทําประโยชน์แล้วเมื่อผู้เช่าที่ดินแปลงดังกล่าวใช้ที่ดินเพื่อประกอบเกษตรกรรม จึงถือว่าที่ดินนั้นใช้ประกอบการเกษตร และได้รับยกเว้นฐานภาษีมูลค่า 50 ล้านบาท เมื่อคํานวณมูลค่าที่ดินของนาย ก แล้ว คิดเป็นมูลค่า 2,800,000 บาท  ไม่เกิน 50 ล้านบาท นาย ก จึงไม่ต้องเสียภาษ

6.  การแจ้งการประเมินภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง
6.1 ให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นแจ้งการประเมินแก่ผู้เสียภาษีภายในเดือนกุมภาพันธ์ของทุกปี  ทั้งนี้ พระราชบัญญัติภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง พ.ศ. 2562 ไม่ได้กําหนดให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นสามารถประเมินภายหลังเดือนกุมภาพันธ์ได้ ดังนั้น องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจึงควรระมัดระวังแจ้งการประเมินให้ทันภายในระยะเวลาที่กําหนด โดยหนังสือแจ้งประเมินให้เป็นไปตามแบบที่กําหนด พร้อมส่งรายละเอียดการคํานวณภาษีให้ผู้เสียภาษีทราบด้วย
6.2 การส่งหนังสือแจ้งประเมิน ให้เจ้าหน้าที่ส่งให้แก่ผู้เสียภาษีโดยตรง หรือส่งทางไปรษณีย์ลงทะเบียนตอบรับ โดยให้ส่ง ณ ภูมิลําเนาหรือถิ่นที่อยู่หรือสถานที่ทําการของบุคคลนั้นในระหว่างเวลาพระอาทิตย์ขึ้นถึงพระอาทิตย์ตกหรือในเวลาทําการของบุคคลนั้น ถ้าไม่พบผู้เสียภาษี ณ ภูมิลําเนาหรือถิ่นที่อยู่หรือสถานที่ทําการของผู้เสียภาษีจะส่งให้แก่บุคคลใดซึ่งบรรลุนิติภาวะแล้ว และอยู่ ณ ภูมิลําเนาหรือถิ่นที่อยู่หรือสถานที่ทําการที่ปรากฏว่าเป็นของผู้เสียภาษีนั้นก็ได้
6.3 ถ้าไม่สามารถส่งหนังสือได้ ให้ปิดหนังสือในที่ที่เห็นได้ง่าย ณ ภูมิลําเนาหรือถิ่นที่อยู่หรือสถานที่ทําการของผู้เสียภาษีนั้น หรือลงประกาศแจ้งความในหนังสือพิมพ์ก็ได้ เมื่อเวลาล่วงพ้นไปไม่น้อยกว่า7 วัน นับแต่วันที่ได้ดําเนินการดังกล่าว ให้ถือว่าผู้เสียภาษีได้รับหนังสือนั้นแล้ว6.4 กรณีที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นพบว่ามีการประเมินภาษีผิดพลาดหรือไม่ครบถ้วนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีอํานาจทบทวนการประเมินภาษีให้ถูกต้องตามที่ผู้เสียภาษีมีหน้าที่ต้องเสียภาษีได้โดยทบทวนได้เพียง 3 ปี นับแต่วันสุดท้ายแห่งกําหนดเวลาการชําระภาษี โดยมีขั้นตอน ดังนี้
(1) กรณีที่ต้องชําระเพิ่มเติม ให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นแจ้งการประเมินให้แก่ผู้เสียภาษีและให้ผู้เสียภาษีชําระภาษีที่ต้องเสียเพิ่มเติมโดยไม่ต้องเสียเบี้ยปรับหรือเงินเพิ่มภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับแจ้งการประเมิน
(2) กรณีที่มีการชําระภาษีไว้เกินกว่าจํานวนที่จะต้องเสีย ให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีหนังสือแจ้งให้ผู้เสียภาษีทราบภายใน 15 วัน นับแต่วันที่ตรวจสอบพบว่ามีการประเมินภาษีผิดพลาด เพื่อให้มารับเงินที่ชําระเกินคืนภายใน 1 ปี นับแต่วันที่ได้รับหนังสือแจ้ง


10. การรับชำระภาษี เบี้ยปรับและเงินเพิ่มกรณีชำระภาษีเกินกำหนดระยะเวลา และการคืนเงินภาษี
1. การรับชำระภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง
1.1 เมื่อองค์การบริหารส่วนตำบล  มีหนังสือแจ้งการประเมินแก่ผู้เสียภาษี  ภายในเดือนกุมภาพันธ์แล้ว ผู้เสียภาษีต้องนําเงินมาชําระต่อพนักงานเก็บภาษีภายในเดือนเมษายน ณ ที่ทําการขององค์การบริหารส่วนตําบล โดยให้ถือวันที่พนักงานเก็บภาษีลงลายมือชื่อในใบเสร็จรับเงินเป็นวันที่ชําระภาษี
1.2 องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจะมอบให้ส่วนราชการรับชําระภาษีแทนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นก็ได้ โดยให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทําความตกลงเป็นหนังสือกับส่วนราชการนั้น และให้ส่วนราชการที่รับชําระภาษีแทน สามารถหักค่าใช้จ่ายในอัตราร้อยละ 3 ของภาษีที่รับชําระไว้แทนได้ โดยให้ถือว่าวันที่เจ้าหน้าที่ของส่วนราชการ
หรือหน่วยงานของรัฐซึ่งได้รับมอบหมายลงลายมือชื่อในใบเสร็จรับเงินเป็นวันที่ชําระภาษี
1.3 ผู้เสียภาษีอาจชําระภาษีโดยทางไปรษณีย์ลงทะเบียนตอบรับ หรือโดยการชําระผ่านธนาคาร หรือโดยวิธีการอื่นใด เช่น ชําระภาษีผ่านจุดบริการ เป็นต้น  กรณีชําระภาษีทางไปรษณีย์ลงทะเบียนตอบรับ โดยส่งธนาณัติ ตั๋วแลกเงินไปรษณีย์  เช็คธนาคาร หรือเช็คที่ธนาคารรับรองสั่งจ่ายให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ให้ถือว่าวันที่หน่วยงาน
ให้บริการไปรษณีย์ประทับตราลงทะเบียนเป็นวันที่ชําระภาษี  กรณีชําระโดยผ่านทางธนาคารหรือวิธีการอื่นใด ให้ถือว่าวันที่ธนาคารได้รับเงินค่าภาษีหรือวันที่มีการชําระเงินค่าภาษีผ่านจัดบริการ เป็นวันที่ชําระภาษี
2. การผ่อนชำระภาษี
ผู้เสียภาษีจะขอผ่อนชําระภาษีก็ได้ โดยวงเงินที่จะขอผ่อนชําระจะต้องมีจํานวนตั้งแต่ 3,000 บาท  ขึ้นไป และต้องทําเป็นหนังสือยื่นต่อองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นภายในเดือนเมษายน ซึ่งกําหนดเวลาในการผ่อนชําระให้แบ่งได้ไม่เกิน 3 งวด ๆ ละ เท่า ๆ กัน ดังนี้
2.1 งวดที่ 1 ชําระภายในเดือนเมษายน
2.2 งวดที่ 2 ชําระภายในเดือนพฤษภาคม
2.3 งวดที่ 3 ชําระภายในเดือนมิถุนายน
3. การเร่งรัดภาษีค้างชำระ
ถ้าผู้เสียภาษีไม่ชําระภาษีภายในเดือนเมษายน หรือไม่ชําระภาษีภายในระยะเวลาที่ขอผ่อนชําระหรือไม่ชําระภาษีภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับแจ้งการประเมินเพิ่มเติม ให้ถือเป็นภาษีค้างชําระ ที่จะต้องติดตามเร่งรัดภาษีค้างชําระดังกล่าว โดยดําเนินการ ดังนี้
3.1 มีหนังสือแจ้งเตือนผู้เสียภาษีที่มีภาษีค้างชําระภายในเดือนพฤษภาคมของปี เพื่อให้มาชําระภาษีค้างชําระ พร้อมเบี้ยปรับและเงินเพิ่ม

3.2 ถ้าผู้เสียภาษีไม่มาชําระภายในระยะเวลาที่กําหนดในหนังสือแจ้งเตือน องค์การบริหารส่วนตำบล  แจ้งรายการภาษีค้างชําระให้สํานักงานที่ดินหรือสํานักงานที่ดินสาขา ซึ่งที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้างอยู่ในเขตท้องที่ของสํานักงานที่ดินหรือสํานักงานที่สาขานั้นทราบ เพื่อใช้เป็นข้อมูลในการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมโอนกรรมสิทธิ์หรือสิทธิครอบครองในที่ดินและอสังหาริมทรัพย์ต่อไป
3.3 การจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมโอนกรรมสิทธิ์หรือสิทธิครอบครองในที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้างตามพระราชบัญญัตินี้จะทําไม่ได้ หากปรากฏหลักฐานจากองค์การบริหารส่วนตำบล ว่ามีภาษีค้างชําระสําหรับที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้างนั้น ดังนั้น หากต่อมาผู้เสียภาษีได้มาชําระภาษีค้างชําระพร้อมเบี้ยปรับและเงินเพิ่มแล้ว องค์การบริหารส่วนตำบล  จะรีบดําเนินการแจ้งให้สํานักงานที่ดินหรือสํานักงานที่ดินสาขาทราบ เพื่อถอนการอายัดดังกล่าวต่อไป
4. การคิดเบี้ยปรับและเงินเพิ่ม
ถ้าผู้เสียภาษีไม่มาชําระภาษีภายในระยะเวลาที่กําหนด จะต้องเสียภาษีค้างชําระรวมทั้งเบี้ยปรับและเงินเพิ่ม ดังนี้
4.1 ถ้าผู้เสียภาษีมิได้มาชําระภาษีภายในเวลาที่กําหนด แต่ต่อมาได้มาชําระภาษีก่อนที่จะได้รับหนังสือแจ้งเตือน ให้คิดเบี้ยปรับร้อยละ 10 ของจํานวนภาษีค้างชําระ
4.2 ถ้าผู้เสียภาษีมาชําระภาษีภายในระยะเวลาที่กําหนดในหนังสือแจ้งเตือน ให้คิดเบี้ยปรับร้อยละ 20  ของจํานวนภาษีค้างชําระ
4.3 ถ้าผู้เสียภาษีมาชําระภาษีภายหลังจากที่กําหนดในหนังสือแจ้งเตือน ให้คิดเบี้ยปรับร้อยละ 40  ของจํานวนภาษีค้างชําระ
4.4 ผู้เสียภาษีที่มิได้ชําระภาษีภายในเวลาที่กําหนด ให้เสียเงินเพิ่มอีกร้อยละ 1 ต่อเดือนของจํานวนภาษีค้างชําระ เศษของเดือนให้นับเป็น 1 เดือน โดยให้เริ่มนับเมื่อพ้นกําหนดเวลาชําระภาษีจนถึงวันที่มีการชําระภาษี แต่ไม่ให้เกินกว่าจํานวนภาษีที่ต้องชําระ
4.5 กรณีที่ผู้บริหารท้องถิ่นให้ขยายกําหนดเวลาชําระภาษี และได้มีการชําระภาษีภายในกําหนดเวลาที่ขยายให้นั้น ให้คิดเงินเพิ่มลดลงเหลือร้อยละ 0.5 ต่อเดือนหรือเศษของเดือน
4.6 เบี้ยปรับอาจงดได้ ในกรณีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างถูกยึดหรืออายัดตามกฎหมาย โดยผู้มีหน้าที่เสียภาษีจะต้องยื่นคําร้องเป็นหนังสือต่อผู้บริหารท้องถิ่น เพื่อของดเบี้ยปรับของภาษีที่ค้างชําระ และให้ผู้บริหารท้องถิ่นมีอํานาจสั่งงดเบี้ยปรับนับแต่วันที่ศาลหรือเจ้าหน้าที่ผู้มีอํานาจตามกฎหมายมีคําสั่งให้ยึด อายัดที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้างแล้วแต่กรณี
5. การขอรับเงินคืน
กรณีที่ผู้เสียภาษีเสียภาษีโดยไม่มีหน้าที่ต้องเสีย หรือเสียภาษีเกินกว่าจํานวนที่ต้องเสีย ไม่ว่าโดยความผิดพลาดของตนเองหรือจากการประเมินขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ผู้นั้นมีสิทธิได้รับเงินคืน โดยดําเนินการ ดังนี้
5.1 ผู้เสียภาษียื่นคําร้องต่อผู้บริหารท้องถิ่นภายใน 3 ปีนับแต่วันที่ชําระภาษี พร้อมทั้งส่งเอกสารหลักฐาน หรือคําชี้แจงใด ๆ ประกอบคําร้องด้วย
5.2 ผู้บริหารท้องถิ่นพิจารณาให้แล้วเสร็จ และแจ้งผลการพิจารณาคําร้องให้ผู้ยื่นคําร้องทราบภายใน 90 วัน นับแต่วันที่ได้รับคําร้อง
5.3 ถ้าผู้บริหารท้องถิ่นเห็นว่าผู้ยื่นคําร้องมีสิทธิได้รับเงินคืน ให้ผู้บริหารท้องถิ่นมีคําสั่งคืนเงินให้แก่ผู้ยื่นคําร้อง โดยแจ้งให้ผู้ยื่นคําร้องทราบภายใน 15 วัน นับแต่วันที่ได้มีคําสั่ง

5.4 กรณีที่ผู้บริหารท้องถิ่นเห็นว่า องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นประเมินภาษีผิดพลาด ให้ผู้บริหารท้องถิ่นสั่งให้ดอกเบี้ยแก่ผู้ได้รับคืนเงินในอัตราร้อยละ 1 ต่อเดือน หรือเศษของเดือนของเงินที่ได้รับคืนโดยไม่คิดทบต้น นับแต่วันที่ยื่นคําร้องขอรับคืนเงินจนถึงวันที่คืนเงิน แต่ต้องไม่เกินจํานวนเงินที่ได้รับคืน
5.5 ถ้าผู้ยื่นคําร้องไม่มารับเงินคืนภายใน 1 ปี นับแต่วันที่ได้รับแจ้ง ให้เงินนั้นตกเป็นขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

11.  การอุทธรณ์การประเมินภาษี
ผู้เสียภาษีรายใดได้รับแจ้งการประเมินแล้วไม่เห็นด้วยกับการประเมินตามมาตรา 44 ประเมินเพิ่มเติมตามมาตรา 53 หรือการเรียกเก็บภาษีตามมาตรา 61 เนื่องจากเห็นว่า การประเมินภาษีหรือการเรียกเก็บภาษีไม่ถูกต้อง มีสิทธิคัดค้านและขอให้ผู้บริหารท้องถิ่นพิจารณาทบทวนการประเมินหรือการเรียกเก็บภาษีได้ โดยมีขั้นตอนดําเนินการ ดังนี้
1. ผู้เสียภาษียื่นคําร้องต่อผู้บริหารท้องถิ่นภายใน 30 วัน นับแต่ได้รับแจ้งการประเมินภาษีหรือการเรียกเก็บภาษี
2. ผู้บริหารต้องพิจารณาให้แล้วเสร็จภายใน 60 วัน นับแต่วันที่ได้รับคําร้องดังกล่าว และแจ้งคําสั่งพร้อมด้วยเหตุผลเป็นหนังสือไปยังผู้เสียภาษีโดยไม่ชักช้า
3. หากผู้บริหารท้องถิ่นพิจารณาไม่แล้วเสร็จภายใน 60 วัน จะถือว่าผู้บริหารท้องถิ่นเห็นชอบกับคําร้องของผู้เสียภาษี
4. กรณีที่ผู้บริหารท้องถิ่นเห็นชอบกับคําร้องของผู้เสียภาษี ให้แจ้งจํานวนภาษีที่จะต้องเสียเป็นหนังสือไปยังผู้เสียภาษี และให้ผู้เสียภาษีมารับชําระภาษีคืนภายใน 15 วัน นับแต่วันที่ได้รับหนังสือแจ้งดังกล่าว
5. กรณีที่ผู้บริหารท้องถิ่นพิจารณาไม่เห็นชอบกับคําร้องของผู้เสียภาษี ผู้เสียภาษีมีสิทธิอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์การประเมินภาษี โดยยื่นอุทธรณ์ต่อผู้บริหารท้องถิ่น ภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับหนังสือแจ้ง
6. ให้ผู้บริหารท้องถิ่นส่งคําอุทธรณ์ไปยังคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์การประเมินภาษีภายใน  15 วัน นับแต่วันที่ได้รับคําอุทธรณ์ดังกล่าว
7. คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์การประเมินภาษีมีอํานาจออกหนังสือเรียกผู้อุทธรณ์หรือบุคคลซึ่งเกี่ยวข้อง มาให้ถ้อยคําหรือให้ส่งเอกสารหรือหลักฐานใดมาแสดงได้ โดยให้เวลาไม่น้อยกว่า 15 วัน นับแต่วันที่ได้รับหนังสือเรียก หากผู้อุทธรณ์ไม่ปฏิบัติตามหนังสือเรียก โดยไม่มีเหตุผลอันสมควร คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์การประเมินภาษีจะยกอุทธรณ์นั้นก็ได้
8. คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์การประเมินภาษีต้องวินิจฉัยอุทธรณ์ให้แล้วเสร็จภายใน 60 วันนับแต่วันที่ได้รับแจ้งคําอุทธรณ์จากผู้บริหารท้องถิ่น และต้องแจ้งคําวินิจฉัยอุทธรณ์พร้อมด้วยเหตุผลเป็นหนังสือไปยังผู้อุทธรณ์ภายใน 15 วัน นับแต่วันที่พิจารณาเสร็จ โดยจะเรียกเก็บภาษีเกินกว่าจํานวนภาษีที่ทําการประเมินไม่ได้ เว้นแต่จะได้มีการประเมินภาษีใหม่
9. หากคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์การประเมินภาษีพิจารณาไม่แล้วเสร็จภายในระยะเวลาที่กําหนด อาจขยายระยะเวลาพิจารณาอุทธรณ์ออกไปอีกได้ แต่ต้องไม่เกิน 30 วัน นับแต่วันที่ครบกําหนดระยะเวลา 60 วัน และให้มีหนังสือแจ้งระยะเวลาที่ขยายออกไปพร้อมกับวันครบกําหนดระยะเวลาให้ผู้อุทธรณ์ทราบด้วย
10. ในกรณีที่คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์พิจารณาไม่แล้วเสร็จภายในระยะเวลาที่ขยายออกไปให้ผู้อุทธรณ์มีสิทธิฟ้องเป็นคดีต่อศาลได้โดยไม่ต้องรอฟังผลการพิจารณาของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์การประเมินภาษี แต่ต้องยื่นฟ้องต่อศาลภายใน 30 วัน นับแต่วันพ้นกําหนดระยะเวลาดังกล่าว

11. กรณีที่คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์การประเมินภาษีวินิจฉัยให้คืนเงินแก่ผู้อุทธรณ์ ให้แจ้งคําวินิจฉัยให้ผู้บริหารท้องถิ่นเพื่อให้มีคําสั่งคืนเงิน และแจ้งให้ผู้อุทธรณ์ทราบภายใน 15 วัน นับแต่วันที่ได้มีคําสั่งคืนเงิน
12. ให้คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์การประเมินภาษี สั่งผู้บริหารท้องถิ่นให้ดอกเบี้ยแก่ผู้ได้รับคืนเงินในอัตราร้อยละ 1 ต่อเดือนหรือเศษของเดือนของเงินที่ได้รับคืน โดยไม่คิดทบต้น นับแต่วันที่ชําระภาษีถึงวันที่มีคําวินิจฉัยให้คืนเงิน แต่ต้องไม่เกินจํานวนเงินที่ได้รับคืน
13. ถ้าผู้อุทธรณ์ไม่มารับเงินคืนภายใน 1 ปี นับแต่วันที่ได้รับแจ้ง ให้เงินนั้นตกเป็นขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
14. ผู้อุทธรณ์มีสิทธิอุทธรณ์คําวินิจฉัยของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์การประเมินภาษี โดยฟ้องเป็นคดีต่อศาลภายใน 30 วันนับแต่วันที่ได้รับแจ้งคําวินิจฉัยอุทธรณ์
15. การคัดค้านและการอุทธรณ์ ไม่เป็นการทุเลาการชําระภาษี เว้นแต่ผู้เสียภาษีจะยื่นคําร้องต่อผู้บริหารท้องถิ่นขอให้ทุเลาการชําระภาษีไว้ก่อน และผู้บริหารท้องถิ่นมีคําสั่งให้ทุเลาการชําระภาษีแล้วในกรณีนี้ ให้ผู้บริหารท้องถิ่นมีคําสั่งให้ทุเลาการชําระภาษีเฉพาะส่วนต่างที่เพิ่มขึ้นจากจํานวนภาษีที่ต้องเสียในปีก่อน และจะสั่งให้วางประกันตามที่เห็นสมควรได้
16. ในกรณีที่ผู้บริหารท้องถิ่นสั่งให้ทุเลาการชําระภาษีไว้แล้ว ต่อมาปรากฏว่า ผู้เสียภาษีได้กระทําการใด ๆ เพื่อประวิงการชําระภาษี หรือจะกระทําการโอน ขาย จําหน่าย หรือยักย้ายทรัพย์สินทั้งหมดหรือบางส่วนเพื่อให้พ้นอํานาจการยึดหรืออายัด ผู้บริหารท้องถิ่นมีอํานาจเพิกถอนคําสั่งให้ทุเลาการชําระภาษีนั้นได้


12.  การยึด อายัด และขายทอดตลาดทรัพย์สิน
การยึด อายัด และขายทอดตลาดทรัพย์สินในทางกฎหมายมี 2 ลักษณะ ดังนี้
1. การยึด อายัด และขายทอดตลาดทรัพย์สินตามคําพิพากษาศาล (มีการนําคดีขึ้นสู่การพิจารณาของศาล)
2. การยึด อายัด และขายทอดตลาดทรัพย์สินตามกฎหมายเฉพาะ (ไม่ต้องนําคดีขึ้นสู่การพิจารณาของศาล)
สําหรับการบังคับทางปกครองตามมาตรา 62 แห่งพระราชบัญญัติภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง พ.ศ. 2562 กําหนดให้อํานาจผู้บริหารท้องถิ่นออกคําสั่งเป็นหนังสือยึด อายัด และขายทอดตลาดทรัพย์สินของผู้ค้างชําระภาษี โดยการยึด อายัด และขายทอดตลาดทรัพย์สินให้นําวิธีการตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาใช้บังคับโดยอนุโลม ซึ่งหมายถึง การดําเนินการออกคําสั่งยึด อายัด และขายทอดตลาดทรัพย์สินของผู้ค้างชําระภาษีโดยมิต้องนําคดีขึ้นสู่การพิจารณาของศาล แต่เนื่องจากพระราชบัญญัติภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง พ.ศ. 2562 ไม่ได้กําหนดขั้นตอน วิธีการ และเงื่อนไขในการปฏิบัติไว้อย่างชัดเจน ดังนั้น  จึงต้องวางแนวทางไว้ ดังนี้
» 1. ก่อนที่จะเสนอผู้บริหารท้องถิ่นเพื่อออกคําสั่งเป็นหนังสือยึด อายัด และขายทอดตลาดทรัพย์สินของผู้ค้างชําระภาษี จะต้องตรวจสอบก่อนว่าได้มีการแจ้งการประเมินภาษีตามแบบที่กฎหมายกําหนดแล้วหรือไม่
» 2. เมื่อได้แจ้งการประเมินภาษีแล้ว แต่ผู้เสียภาษียังไม่ได้ชําระภาษี ให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีหนังสือแจ้งเตือนภายในเดือนพฤษภาคม เพื่อให้ผู้ค้างชําระภาษีมาชําระภาษี เบี้ยปรับ และเงินเพิ่มให้ครบถ้วน โดยกําหนดระยะเวลาแจ้งเตือนให้มาชําระภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้รับหนังสือแจ้งเตือนดังกล่าว
» 3. ก่อนเสนอให้ผู้บริหารท้องถิ่นออกคําสั่งยึด อายัด และขายทอดตลาดทรัพย์สินของผู้ค้างชําระภาษี เบี้ยปรับ และเงินเพิ่ม ต้องพ้นกําหนด 90 วัน นับแต่วันที่ผู้ค้างชําระภาษีได้รับหนังสือแจ้งเตือน
» 4. เมื่อพ้นกําหนด 90 วัน นับแต่วันที่ได้รับหนังสือแจ้งเตือนแล้วให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีหนังสือแจ้งเตือนให้ผู้ค้างชําระภาษีทราบอีกครั้ง เพื่อให้สอดคล้องตามพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539 ที่บัญญัติว่า อํานาจเจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครองในการใช้มาตรการบังคับทางปกครองไว้ในกฎหมายเฉพาะ การบังคับทางปกครองต้องใช้เท่าที่จําเป็น ดังนั้น จึงควรมีหนังสือแจ้งเตือนก่อนการบังคับทางปกครองเป็นครั้งสุดท้าย
» 5. ผู้บริหารท้องถิ่นมีอํานาจออกคําสั่งเป็นหนังสือยึด อายัด และขายทอดตลาดทรัพย์สินของผู้เสียภาษีภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างดังกล่าวได้ เพื่อนําเงินมาชําระภาษีค้างชําระ เบี้ยปรับ เงินเพิ่ม และค่าใช้จ่ายอื่น ๆ  อันเนื่องมาจากการยึด อายัด และขายทอดตลาดทรัพย์สินได้ แต่ถ้าในกรณีผู้ออกคําสั่งดังกล่าวเป็นนายกเทศมนตรี นายกองค์การบริหารส่วนตําบล และนายกเมืองพัทยา ต้องได้รับความเห็นชอบจากผู้ว่าราชการจังหวัดก่อนแล้วจึงออกคําสั่งยึดหรืออายัดแล้วแต่กรณี
» 6. สําหรับวิธีการยึด อายัด และขายทอดตลาดทรัพย์สินของผู้ค้างชําระภาษีตามพระราชบัญญัติภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง พ.ศ.2562 กําหนดให้นําวิธีการตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาใช้บังคับโดยอนุโลม แต่เพื่อประโยชน์ในการยึดหรืออายัดทรัพย์สินผู้บริหารท้องถิ่นหรือเจ้าหน้าที่ซึ่งได้รับมอบหมายจากผู้บริหารท้องถิ่นมีอํานาจ ดังนี้

6.1 มีหนังสือเรียกผู้เสียภาษีมาให้ถ้อยคํา
6.2 สั่งให้ผู้เสียภาษีนําบัญชี เอกสาร หรือหลักฐานอื่นอันจําเป็นแก่การจัดเก็บภาษีค้างชําระมาตรวจสอบได้
6.3 การออกคําสั่งเป็นหนังสือให้เจ้าหน้าที่ทําการตรวจสอบ ค้น หรือยึดบัญชี เอกสาร หรือหลักฐานอื่นของผู้เสียภาษี โดยคําสั่งให้เป็นไปตามแบบท้ายระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยการออกคําสั่งและทําการตรวจสอบ ค้น หรือยึดบัญชี เอกสารหรือหลักฐานอื่นฯ และต้องปิดคําสั่งไว้ ณ สํานักงานหรือที่ทําการขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และที่ชุมชนในตําบล หมู่บ้านที่จะทําการตรวจสอบ ค้น หรือยึดบัญชีเอกสารหรือหลักฐานอื่นกับส่งคําสั่งให้ผู้ค้างชําระภาษีทราบ
6.4 เข้าไปในที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้างหรือสถานที่อื่นที่เกี่ยวข้องในระหว่างเวลาพระอาทิตย์ขึ้นถึงพระอาทิตย์ตกหรือในเวลาทําการของสถานที่นั้นโดยให้ดําเนินการ ดังนี้
(1) เจ้าหน้าที่ตรวจค้นต้องมีไม่น้อยกว่า 2 คน โดยมีผู้ดํารงตําแหน่งไม่ต่ํากว่าประเภทวิชาการ ระดับชํานาญการ หรือประเภททั่วไประดับชํานาญงานเป็นหัวหน้าชุดทําการตรวจค้น
(2) เจ้าหน้าที่ตรวจค้นต้องแสดงบัตรประจําตัวเจ้าหน้าที่ของรัฐต่อผู้รับการตรวจค้น พร้อมทั้งแจ้งให้ผู้รับการตรวจค้นทราบความประสงค์ในการตรวจค้น พร้อมทั้งแสดงความบริสุทธิ์ใจ ให้เห็นว่าเจ้าหน้าที่ผู้ทําการตรวจค้นไม่มีสิ่งของผิดกฎหมายติดตัวมา และบันทึกไว้เป็นหลักฐานด้านหลังของคําสั่งตรวจค้นฉบับที่ 1 พร้อมทั้งให้ผู้รับการตรวจค้นลงลายมือชื่อรับทราบคําสั่งตรวจค้น หากไม่ยินยอมลงลายมือชื่อ ให้บันทึกเหตุไว้ด้วย
(3) ต้องทําต่อหน้าผู้รับการตรวจค้น หากไม่สามารถตรวจค้นได้ ให้แจ้งเจ้าพนักงานตํารวจท้องที่ทราบ เพื่อเป็นพยานในการตรวจค้น
(4) ต้องใช้ความละเอียดรอบคอบมิให้เอกสาร หลักฐานเกี่ยวกับการบังคับชําระภาษีถูกปิดบังซ่อนเร้น และใช้ดุลยพินิจในการยึดเอกสารหลักฐานเฉพาะที่สําคัญและเป็นประโยชน์ต่อการบังคับชําระภาษีเท่านั้น
(5) ต้องตรวจค้นโดยสุภาพ ใช้ความระมัดระวังมิให้เกิดความเสียหาย กระจัดกระจายบุบสลายแก่ทรัพย์สินใด ๆ และต้องไม่เป็นการขัดขวางการประอบการของผู้รับการตรวจค้นโดยไม่จําเป็น
(6) กรณีไม่อาจตรวจค้นต่อหน้าผู้รับการตรวจค้น ให้นําพยานหลักฐานที่ได้ไปยังสถานีตํารวจท้องที่เพื่อลงบันทึกประจําวันไว้เป็นหลักฐาน
(7) เมื่อทําการตรวจค้นเสร็จให้ผู้ทําการตรวจค้นบันทึกรายละเอียดการตรวจค้นตามแบบแนบท้ายระเบียบนี้จํานวน 3 ฉบับ พร้อมทั้งอ่านให้ผู้รับการตรวจค้นฟัง พร้อมลงลายมือชื่อรับทราบ โดยมอบบันทึกฉบับที่ 1 ให้ผู้รับการตรวจค้น ฉบับที่ 2 ติดไว้กับสมุดคําสั่งให้ทําการตรวจค้น และฉบับที่ 3 ติดไว้กับบันทึกเสนอคําสั่งแต่งตั้งเจ้าหน้าที่ พร้อมทั้งให้ผู้ทําการตรวจค้นและผู้รับการตรวจค้นลงลายมือชื่อกํากับเอกสารหลักฐานที่ทําการตรวจยึดทุกฉบับด้วย
(8) ให้เจ้าหน้าที่ผู้ทําการตรวจค้นจัดทําบันทึกรายงานผลการตรวจค้นตามแบบท้ายระเบียบนี้ให้ผู้บริหารท้องถิ่นทราบทันที หรือในวันทําการแรก
(9) การออกคําสั่งตรวจค้นต้องจัดทําทะเบียนคุมไว้เป็นหลักฐาน
7. เพื่อประโยชน์ในการสืบหาทรัพย์สิน ผู้บริหารท้องถิ่นควรกําหนดตัวเจ้าหน้าที่สืบทรัพย์อย่างน้อยสองคนขึ้นไป เพื่อร่วมกันสืบหาข้อมูลทรัพย์สินของผู้ค้างชําระภาษีว่ามีข้อมูลทรัพย์สินอยู่ ณ ที่ใดบ้าง สําหรับตัวอย่างแหล่งข้อมูลในการสืบหาทรัพย์สินมี  ดังนี้
7.1 กรมที่ดินหรือสํานักงานที่ดิน ซึ่งมีหน้าที่จดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ สําหรับการขอตรวจสอบความเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์หรือสิทธิครอบครองในอสังหาริมทรัพย์
ของผู้ค้างชําระภาษี หรือภาระผูกพัน หรือราคาประเมินทุนทรัพย์ของอสังหาริมทรัพย์ และขอสําเนาโฉนดที่ดินหรือหนังสือรับรองการทําประโยชน์ เป็นต้น
7.2 สถาบันการเงิน /ธนาคารพาณิชย์ซึ่งเป็นสํานักงานใหญ่ หรือสาขา ซึ่งผู้ค้างชําระภาษีมีภูมิลําเนาหรือสถานประกอบการตั้งอยู่ โดยทําหนังสือขอข้อมูลในบัญชีเงินฝากของผู้ค้างชําระภาษี โดยแจ้งรายชื่อ นามสกุลเลขบัตรประชาชน/เลขประจําตัวผู้เสียภาษีเงินได้ จํานวนเงินที่ค้างชําระภาษี หรือข้อมูลอื่นที่จําเป็นให้สถาบันการเงิน /ธนาคารพาณิชย์ซึ่งเป็นสํานักงานใหญ่ หรือสาขา ทราบ เพื่อทําการส่งข้อมูลบัญชีเงินฝากของผู้ค้างชําระภาษีต่อไป
7.3 สํานักงานภาษีสรรพากรพื้นที่ สํานักงานสรรพากรจังหวัด ซึ่งมีหน้าที่จัดเก็บภาษีเงินได้ เพื่อทราบข้อมูลต่างๆ เช่น รายการทรัพย์สินของผู้ค้างภาษี เป็นต้น เป็นการทราบถึงที่มาของรายได้ของผู้ค้างชําระภาษีในเบื้องต้น
7.4 กรมการขนส่งทางบก ซึ่งมีหน้าที่จดทะเบียนยานพาหนะตามกฎหมาย
7.5 ที่ว่าการอําเภอ ซึ่งมีหน้าที่เกี่ยวกับการจดทะเบียนซื้อขายสังหาริมทรัพย์ชนิดพิเศษ หรือการจดทะเบียนตั๋วพิมพ์รูปพรรณสัตว์พาหนะตามที่กฎหมายกําหนด
7.6 ส่วนราชการหรือองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอื่น ที่ผู้ค้างภาษีมีสิทธิเรียกร้องตามสัญญาต่างๆ  เช่น สัญญาจ้าง สัญญาเช่า โดยผู้ค้างภาษีได้มีการวางหลักประกันสัญญากับหน่วยงานที่ทําสัญญาดังกล่าว
7.7 เมื่อได้ข้อมูลทรัพย์สินของผู้ค้างชําระภาษีแล้ว ให้จัดทําบันทึกเป็นหนังสือเพื่อเสนอรายงานต่อผู้บริหารท้องถิ่น โดยจัดทําตารางบัญชีแสดงรายการทรัพย์สิน รายละเอียดประเภททรัพย์สิน ประมาณราคาทรัพย์สิน ภาระติดพันในทรัพย์สิน เพื่อเสนอต่อผู้บริหารท้องถิ่นทราบ เพื่อออกคําสั่งเป็นหนังสือยึดหรืออายัดแล้วแต่กรณี แต่กรณีการออกคําสั่งองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจะต้องขอความเห็นชอบจากผู้ว่าราชการจังหวัดก่อนดําเนินการออกคําสั่งยึด อายัด และขายทอดตลาดทรัพย์สินของผู้เสียภาษีภาษีที่ดินและ สิ่งปลูกสร้างดังกล่าว
8. เมื่อผู้ว่าราชการจังหวัดได้ให้ความเห็นชอบในการดําเนินการออกคําสั่งยึด อายัด และขายทอดตลาดทรัพย์สินแล้ว ผู้บริหารท้องถิ่นก็สามารถออกคําสั่งเป็นหนังสือเพื่อทําการยึดหรืออายัดต่อไปได้โดยผู้บริหารท้องถิ่นต้องมีคําสั่งแต่งตั้งเจ้าพนักงานบังคับภาษีอย่างน้อยสองคนขึ้นไป เพื่อร่วมกันปฏิบัติหน้าที่ตามคําสั่งดังกล่าว
9. กรณีคําสั่งยึดให้ทําการปิดคําสั่งยึดทรัพย์สินไว้ที่อําเภอ สํานักงานหรือที่ทําการขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และที่ชุมชนในตําบล หมู่บ้านที่ยึดทรัพย์สิน พร้อมกับส่งคําสั่งยึดทรัพย์สินนั้นให้เจ้าของทรัพย์สินทราบด้วย และกรณีมีคําสั่งอายัดให้ส่งคําสั่งอายัดให้ผู้ค้างชําระภาษีทราบด้วย เพื่อให้งดเว้นการจําหน่ายจ่ายโอนทรัพย์สินที่ถูกอายัดนั้น

แนวทางการดำเนินการยึดทรัพย์สิน
๑. ทรัพย์สินที่ไม่อยู่ในความรับผิดแห่งการบังคับภาษี (ยึด)
(1) เครื่องนุ่งห่มหลับนอน/เครื่องใช้ในครัวเรือน เครื่องใช้สอยส่วนตัว รวมราคาไม่เกิน ๕ หมื่นบาท
(2) เครื่องมือหรือเครื่องใช้ที่จําเป็นในการเลี้ยงชีพหรือประกอบวิชาชีพ รวมราคาไม่เกิน ๑ แสนบาท
(3) วัตถุ เครื่องใช้ และอุปกรณ์ที่จําเป็นต้องใช้ทําหน้าที่แทนหรือช่วยอวัยวะของผู้ค้างภาษี
(4) ทรัพย์สินที่โอนไม่ได้ตามกฎหมาย หรือตามกฎหมายย่อมไม่อยู่ในความรับผิดแห่งการบังคับภาษี
(5) ทรัพย์สินของผู้ค้างภาษีอันมีลักษณะเป็นของส่วนตัวโดยแท้ เช่น แหวนประจําตระกูล เป็นต้น

2. เจ้าพนักงานบังคับภาษีจะต้องทําการยึดทรัพย์สินในเวลากลางวันหรือเวลาทําการของสถานประกอบการนั้น เว้นแต่ในกรณีมีเหตุฉุกเฉินโดยได้รับอนุญาตจากผู้มีอํานาจออกคําสั่งก็ให้กระทําได้
3. ก่อนยึดทรัพย์สิน เจ้าพนักงานบังคับภาษีต้องแสดงคําสั่งยึดทรัพย์สินต่อผู้ค้างชําระภาษี ถ้าไม่ปรากฏตัวบุคคลดังกล่าวให้แสดงต่อบุคคลซึ่งบรรลุนิติภาวะที่อยู่ในสถานที่นั้นหรือผู้ครอบครองทรัพย์สินทราบแต่ถ้าไม่พบบุคคลใดให้แจ้งเจ้าพนักงานฝ่ายปกครองหรือเจ้าหน้าที่ตํารวจมาเป็นพยานเพื่อทําการยึดทรัพย์สินดังกล่าวนั้น และต้องแจ้งให้ผู้ค้างชําระภาษีทราบโดยเร็ว
4. เจ้าพนักงานบังคับภาษี มีอํานาจเท่าที่จําเป็นในการค้นสถานที่ใด ๆ อันเป็นของผู้ค้างชําระภาษีหรือผู้ค้างชําระภาษีได้ครอบครองอยู่ ทั้งมีอํานาจที่จะยึดและตรวจสมุดบัญชีหรือกระทาการใด ๆ ตามสมควรหรือเพื่อเปิดสถานที่อยู่หรือสิ่งปลูกสร้างดังกล่าวแล้ว รวมทั้งตู้นิรภัยหรือที่เก็บของอื่น ๆ แล้วรายงานให้ผู้มีอํานาจออกคําสั่งทราบ
5. การยึดทรัพย์สินของผู้ค้างภาษีให้เจ้าพนักงานบังคับภาษีปฏิบัติหน้าที่ร่วมกันอย่างน้อยสองคนโดยแต่งเครื่องแบบและแสดงบัตรประจําตัวข้าราชการหรือพนักงานส่วนท้องถิ่นในระหว่างปฏิบัติงานพร้อมอุปกรณ์และเอกสารที่เกี่ยวข้อง
6. วิธีการยึดสังหาริมทรัพย์ให้จัดเตรียมหลักฐานที่ตรวจสอบได้/ไป ณ ที่ตั้งทรัพย์/บันทึกรายละเอียดทรัพย์/ประทับตราทรัพย์
7. การยึดสังหาริมทรัพย์อันมีรูปร่างจะต้องทาการยึดให้เห็นประจักษ์แจ้งโดยวิธีประทับตราหรือกระทาโดยวิธีอื่นใดที่เห็นสมควร
8. การยึดอสังหาริมทรัพย์ ให้นําหนังสือสําคัญสาหรับทรัพย์สินนั้นมาเก็บรักษาไว้ในที่ปลอดภัยถ้าเป็นที่ดินต้องแจ้งให้เจ้าพนักงานที่ดินผู้มีหน้าที่ทราบ เพื่อจะได้บันทึกการยึดไว้ในทะเบียน ถ้าหนังสือสําคัญแห่งอสังหาริมทรัพย์นั้นยังไม่ออกหรือนํามาแสดงไม่ได้หรือหาไม่พบ ก็ให้บันทึกไว้เป็นหลักฐานและให้ถือว่าการที่ได้แจ้งการยึดต่อผู้ค้างภาษีและเจ้าพนักงานที่ดินนั้นเป็นการยึดตามกฎหมายแล้ว
9. การยึดทรัพย์สินที่จะต้องจดทะเบียนตามกฎหมาย ให้แจ้งต่อเจ้าพนักงานผู้มีหน้าที่ทราบเพื่อเจ้าพนักงานจะได้บันทึกการยึดไว้ในทะเบียน
10. ถ้ามีผู้ขัดขวาง ให้เจ้าพนักงานบังคับภาษีชี้แจงแต่โดยดีก่อน ถ้าผู้นั้นยังขัดขวางอยู่อีกให้เจ้าพนักงานบังคับภาษีขอความช่วยเหลือจากเจ้าพนักงานฝ่ายปกครองหรือเจ้าหน้าที่ตํารวจเพื่อดาเนินการยึดทรัพย์สินต่อไป
11. กรณีทรัพย์สินถูกเจ้าพนักงานบังคับคดียึดหรืออายัดไว้แทนเจ้าหนี้ตามคําพิพากษาแล้วห้ามมิให้เจ้าพนักงานบังคับภาษีทําการยึดทรัพย์สินนั้นอีก แต่ให้ยื่นคําขอโดยทําเป็นคําร้องต่อศาลที่ออกหมายบังคับคดีให้ยึดหรืออายัดทรัพย์สินนั้นตามแบบที่ศาลกําหนด เพื่อขอเข้าเฉลี่ยในทรัพย์สินหรือเงินที่ขายหรือจําหน่ายทรัพย์สินนั้น
12. การเก็บรักษาทรัพย์สินที่ยึด
(1) เก็บรักษาไว้ ณ สํานักงานที่ทําการขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่ทําการยึด
(2) ถ้าเป็นอสังหาริมทรัพย์ หรือสิ่งของขนย้ายลําบากให้ผู้มีอํานาจออกคําสั่งยึดพิจารณามอบ
ให้บุคคลที่สมควรดูแล
(3) การมอบตาม (2) ผู้มอบต้องรับผิดชอบเมื่อเกิดความเสียหาย เว้นแต่เป็นเพราะเหตุสุดวิสัย

แนวทางการดำเนินการขายทอดตลาดทรัพย์สินที่ยึด
1. ผู้บริหารท้องถิ่นมีคําสั่งแต่งตั้งคณะกรรมจัดการขายทอดตลาดทรัพย์สินของผู้ค้างชําระภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ประกอบด้วยผู้บริหารท้องถิ่น หรือผู้ซึ่งได้รับมอบหมาย เป็นประธานกรรมการ มีปลัดผู้อํานวยการสํานัก/กองคลังท้องถิ่น และเจ้าพนักงานบังคับภาษีเป็นกรรมการ และฝ่ายเลขานุการจัดทําสรุปรายงานผลการขายทอดตลาดดังกล่าว
2. องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจัดทําประกาศขายทอดตลาดแสดงรายละเอียดทรัพย์สินที่จะขาย  ดังนี้
– ชื่อเจ้าของทรัพย์ ผู้สั่งให้ขาย
– รายเอียดของทรัพย์ที่จะขาย โดยกําหนดประเภท ลักษณะ จํานวน ขนาด อายุทรัพย์ เท่าที่ทราบ
– ระบุข้อสัญญา คําเตือน เงื่อนไขต่างๆ เช่น ราคาเริ่มต้นของทรัพย์ อัตราการเพิ่มราคาการประมูล เป็นต้น
– กําหนดวัน เวลา และสถานที่ที่ขายทอดตลาด
3. จัดส่งประกาศขายทอดตลาดให้แก่ผู้ค้างชําระภาษี และผู้มีส่วนได้เสียทราบด้วย
4. ปิดประกาศไว้โดยเปิดเผย ณ สถานที่ที่จะขาย สถานที่ทรัพย์สินตั้งอยู่ ที่ชุมชน สถานที่ราชการอันสมควรจะปิดได้ และแจ้งในหนังสือพิมพ์ฉบับที่แพร่หลายทั่วไป ให้รู้ล่วงหน้าไม่น้อยกว่า 30 วัน
5. ก่อนทําการขายตลาดจะต้องปักธงเครื่องหมายการขายทอดตลาดเป็นธงหมากรุกขาวแดง ณ สถานที่ขายทอดตลาด อ่านประกาศ ข้อสัญญา คําเตือน เงื่อนไขอื่นๆ ในการขายทอดตลาดโดยเปิดเผย  ณ สถานที่ขาย
6. การขายทอดตลาดจะต้องมีการร้องขานราคา 3 ครั้ง เช่น หนึ่งแสนบาท ครั้งที่ 1 หนึ่งแสนบาท ครั้งที่ 2 หนึ่งแสนบาท ครั้งที่ 3 เมื่อไม่มีผู้ใดให้ราคาสูงกว่าหลังจากขานครั้งที่ 3 ให้ตกลงขาย โดยวิธีการเคาะไม้ หรือทํากิริยาอื่นใด เพื่อให้ผู้เข้าร่วมการขายทอดตลาดได้ทราบว่าตกลงขายทรัพย์ที่ยึดนั้นแล้ว
7. กําหนดวันขายทอดตลาดทรัพย์สินควรดําเนินการ ดังนี้
7.1 กรณีทรัพย์ที่ยึดมาเป็นที่ดิน ให้กําหนดวันขายทอดตลาดไม่น้อยกว่า 30 วัน แต่ไม่เกิน 60 วันนับแต่วันที่ยึดทรัพย์สิน
7.2 กรณีทรัพย์ที่ยึดมาเป็นโรงเรือนหรือสิ่งปลูกสร้างต่าง ๆ รวมทั้งทรัพย์สินอื่น ๆ กําหนดวันขายทอดตลาดไม่น้อยกว่า 20 วัน แต่ไม่เกิน 30 วัน นับแต่วันที่ยึดทรัพย์สิน
7.3 กรณีที่มีเหตุจําเป็นและเร่งด่วน คณะกรรมการจัดการขายทอดตลาดทรัพย์สินอาจดําเนินการขายทอดตลาดได้เมื่อพ้นระยะเวลาอย่างน้อย 5 วัน นับแต่วันยึดทรัพย์สินเสร็จ
7.4 กรณีทรัพย์ที่ยึดมาเป็นของสดหรือเสียง่ายให้นําออกขายได้ทันทีหรือขายโดยวิธีอื่น
8. ห้ามมิให้ยึด อายัด และขายทอดตลาดทรัพย์สินของผู้เสียภาษีเกินกว่าความจําเป็นที่พอจะชําระภาษีค้างชําระ เบี้ยปรับ และเงินเพิ่ม และไม่ให้หมายความรวมถึงการยึด อายัด และขายทอดตลาดทรัพย์สินของผู้มีหน้าที่ชําระภาษีแทน
9. กรณีที่มีการยึดหรืออายัดทรัพย์สินของผู้เสียภาษีไว้แล้ว ถ้าผู้เสียภาษีมาชําระเงินภาษีค้างชําระเบี้ยปรับ เงินเพิ่ม และค่าใช้จ่ายอันเนื่องมาจากการยึดหรืออายัดทรัพย์สินโดยครบถ้วนก่อนการขายทอดตลาดแล้วให้ผู้บริหารท้องถิ่นมีคําสั่งเพิกถอนการยึดหรืออายัดทรัพย์สินนั้น และแจ้งถอนการยึดหรืออายัดไปยังเจ้าพนักงานผู้ยึดหรืออายัดให้แล้วเสร็จภายใน 15 วัน นับแต่วันที่ชําระค่าภาษีค้างชําระ เบี้ยปรับ เงินเพิ่มและค่าใช้จ่ายอันเนื่องมาจากการยึดหรืออายัดทรัพย์สินครบถ้วนแล้ว

10. ห้ามมิให้ขายทอดตลาดทรัพย์สินของผู้เสียภาษีในระหว่างเวลาที่ให้คัดค้านหรืออุทธรณ์ ตามมาตรา 73 หรือให้ฟ้องเป็นคดีต่อศาลตามมาตรา 82 แห่งพระราชบัญญัติภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง พ.ศ. 2562 และตลอดเวลาที่การพิจารณาและวินิจฉัยคําคัดค้านหรืออุทธรณ์ดังกล่าวยังไม่ถึงที่สุด
11. เงินที่ได้จากการขายทอดตลาดทรัพย์สินให้หักไว้เป็นค่าภาษีค้างชําระ เบี้ยปรับ เงินเพิ่มและค่าใช้จ่ายอันเนื่องมาจากการยึด อายัด และขายทอดตลาดทรัพย์สินเหลือเท่าใดให้คืนแก่ผู้ค้างชําระภาษี
12. กรณีที่เป็นการขายทอดตลาดตามคําพิพากษา ให้เจ้าพนักงานบังคับคดีแจ้งองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ให้แจ้งรายการภาษีค้างชําระสําหรับที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้างนั้นต่อเจ้าพนักงานบังคับคดี เพื่อให้เจ้าพนักงานบังคับคดีกันเงินที่ได้รับจากการขายทอดตลาดไว้เท่ากับจํานวนค่าภาษีค้างชําระ และนําส่งเงินดังกล่าวให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเพื่อชําระหนี้ค่าภาษีที่ค้างชําระดังกล่าว

แนวทางการดำเนินการอายัดทรัพย์สิน
1. การอายัดทรัพย์สินเป็นการสั่งให้ผู้ค้างชําระภาษีหรือบุคคลภายนอก มิให้จําหน่าย จ่ายโอนหรือกระทํานิติกรรมใด ๆ เกี่ยวกับทรัพย์สิน หรือสิทธิเรียกร้องที่ได้ สั่งอายัดไว้ หรือการสั่งให้บุคคลภายนอกมิให้นําส่งทรัพย์สินหรือชําระหนี้แก่ผู้ค้างชําระภาษี และให้ส่งมอบหรือชําระหนี้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นภายในระยะเวลาที่กําหนดไว้ ตัวอย่าง
– กรณีอายัดเงินฝาก = เลขที่บัญชีธนาคาร (ถ้ามี) ประเภทบัญชี ชื่อธนาคาร ฯลฯ
– กรณีอายัดเงินเดือน = ชื่อสถานที่ทํางาน อัตราเงินเดือน
2. สิทธิเรียกร้องที่อายัดได้
2.1 เงินในบัญชีสถาบันการเงินของผู้ค้างภาษี
2.2 ค่างวดงานตามสัญญาจ้างงาน
2.3 หลักประกันสัญญาต่างๆ
2.4 เงินเดือนของพนักงาน ลูกจ้าง คนงานที่ไม่ได้ทํางานในหน่วยงานราชการ
2.5 เงินค่าป่วยการ เงินประจําตําแหน่ง
2.6 เงินประจําตําแหน่งของข้าราชการ
3. สิทธิเรียกร้องที่ไม่อยู่ในความรับผิดแห่งการบังคับภาษี (อายัด)
3.1 เบี้ยเลี้ยงชีพ เงินรายได้เป็นคราว ๆ อันบุคคลภายนอกได้ยกให้เพื่อเลี้ยงชีพ
3.2 เงินเดือน ค่าจ้าง บํานาญ บําเหน็จและเบี้ยหวัดของข้าราชการ เจ้าหน้าที่หรือลูกจ้างของรัฐบาล และเงินสงเคราะห์หรือบํานาญที่รัฐได้จ่ายให้แก่คู่สมรสหรือญาติที่ยังมีชีวิตของผู้ค้างชําระภาษี
3.3 เงินเดือน ค่าจ้าง บํานาญ ค่าชดใช้ เงินสงเคราะห์ หรือรายได้อื่นในลักษณะเดียวกันของพนักงานลูกจ้างหรือคนงาน นอกจาก (2) ที่นายจ้างจ่ายให้แก่ผู้ค้างชําระภาษีในฐานะที่เป็นบุคคลเหล่านั้นหรือคู่สมรส หรือญาติที่ยังมีชีวิตของผู้ค้างชําระภาษีตามจํานวนที่ผู้บริหารท้องถิ่นเห็นสมควร
3.4 เงินฌาปนกิจสงเคราะห์ที่ผู้ค้างชําระภาษีได้รับ เนื่องจากความตายของบุคคลอื่นจํานวนตามที่จําเป็น
3.5 มีกฎหมายอื่นบัญญัติไว้เป็นพิเศษว่า สิทธิเรียกร้องใดไม่อยู่ในความรับผิดแห่งการบังคับคดี
3.5.1 เงินกองทุนบําเหน็จบํานาญข้าราชการ
3.5.2 เงินกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ
3.5.3 ค่าทดแทน
3.5.4 ค่ารักษาพยาบาลที่ลูกหนี้มีสิทธิได้รับจากประกันสังคม

4. ต้องให้ได้ข้อมูลทรัพย์สินก่อนที่จะดําเนินการอายัด เนื่องจากเป็นข้อมูลของบุคคลการกระทําการสืบทรัพย์ควรกระทําด้วยความระมัดระวัง 

»»  ทั้งนี้ ปัจจุบันมีบทบัญญัติเกี่ยวกับการบังคับทางการปกครองตามกฎหมายว่าด้วยวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง ยังไม่มีประสิทธิภาพในการบังคับใช้ โดยเฉพาะการบังคับตามคําสั่งทางปกครองที่กําหนดให้ชําระเงิน ซึ่งกฎหมายว่าด้วยวิธีปฏิบัติราชการทางปกครองกําหนดให้นําวิธีการยึด อายัด และขายทอดตลาดทรัพย์สิน ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาบังคับใช้โดยอนุโลม จึงไม่มีรายละเอียดวิธีปฏิบัติและระยะเวลาในการบังคับทางการปกครองที่ชัดเจน ซึ่งก่อให้เกิดความไม่เป็นธรรมแก่ผู้อยู่ในบังคับของมาตรการบังคับทางปกครอง ประกอบกับเจ้าหน้าที่ของหน่วยงานของรัฐส่วนใหญ่ไม่มีความเชี่ยวชาญในการยึด อายัด ขายทอดตลาดทรัพย์สิน อีกทั้งไม่มีบทบัญญัติให้อํานาจแก่เจ้าหน้าที่ในการสืบหาทรัพย์สินและมอบหมายให้หน่วยงานอื่นหรือเอกชนดําเนินการแทนได้ ส่งผลให้ไม่สามารถบังคับตามคําสั่งทางปกครองที่กําหนดให้ชําระเงินได้อย่างมีประสิทธิภาพและรัฐต้องสูญเสียรายได้ในที่สุด ดังนั้น จึงได้ปรับปรุงหลักเกณฑ์ในการบังคับทางปกครองเพื่อให้ชัดเจนมีประสิทธิภาพ และเป็นธรรมยิ่งขึ้น โดยพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2562 ได้กําหนดหลักเกณฑ์ใหม่ไว้เป็นแนวทางในการใช้มาตรการทางปกครองซึ่งการบังคับตามคําสั่งทางปกครองที่กําหนดให้ชําระเงินจะแบ่งการบังคับเป็น 2 กรณี ได้แก่
(1) การบังคับโดยเจ้าหน้าที่ของหน่วยงานของรัฐ ซึ่งต้องดําเนินการยึด อายัด ภายในสิบปีนับแต่คําสั่งให้ชําระเงินเป็นที่สุด โดยพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2562  ได้กําหนดเพิ่มอํานาจในการสืบทรัพย์ รวมทั้งขั้นตอนและวิธีการในการปฏิบัติในการยึด อายัด และขายทอดตลาดทรัพย์สิน ตามมาตรา 63/12 แห่งพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง (ฉบับที่ 3)  พ.ศ. 2562 โดยมีกฎกระทรวงกําหนดขั้นตอนและวิธีการดังกล่าวไว้ (ขณะนี้อยู่ระหว่างการออกกฎกระทรวง)
(2) การบังคับโดยเจ้าพนักงานบังคับคดี หน่วยงานของรัฐจะต้องสืบทรัพย์ก่อน และถ้าได้ข้อมูลทรัพย์สินมาแล้ว อาจยื่นต่อศาลที่มีอํานาจขอให้เจ้าพนักงานบังคับคดีดําเนินการยึดหรืออายัดทรัพย์สินแทนได้โดยการบังคับคดีจะต้องดําเนินการยึดหรืออายัดภายในสิบปีนับแต่คําสั่งให้ชําระเงินเป็นที่สุดโดยที่มาตรา 63/3 แห่งพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2562  ได้กําหนดว่า ถ้าบทกฎหมายใดกําหนดมาตรการบังคับทางปกครองไว้โดยเฉพาะแล้ว หากเจ้าหน้าที่เห็นว่า  การใช้มาตรการบังคับนั้นจะเกิดผลน้อยกว่ามาตรการบังคับตามบทบัญญัตินี้ เจ้าหน้าที่นั้นจะใช้มาตรการบังคับทางปกครองตามพระราชบัญญัตินี้แทนได้ ดังนั้น หากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นใดเห็นว่า การใช้มาตรการบังคับทางปกครองบังคับภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างกับผู้ค้างชําระ นั้น อาจมีประสิทธิภาพน้อยกว่า หรืออาจเกิดผลสําเร็จในการดําเนินการน้อยกว่าการใช้มาตรการทางปกครองตามพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการ
ทางปกครอง (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2562 เนื่องจากเจ้าหน้าที่ไม่มีความเชี่ยวชาญในการยึด อายัด ขายทอดตลาด
ทรัพย์สิน หรือไม่สามารถบังคับตามคําสั่งทางปกครองที่กําหนดให้ชําระเงินได้อย่างมีประสิทธิภาพ ก็สามารถใช้
ดําเนินการตามขั้นตอนการยึด อายัด และขายทอดตลาดทรัพย์สินตามพระราชบัญญัติดังกล่าวได้


13.  บทกำหนดโทษ
โทษทางอาญา
1. ผู้ใดขัดขวางการปฏิบัติหน้าที่ของพนักงานสํารวจตามมาตรา 28 หรือมาตรา 29 หรือของผู้บริหารท้องถิ่นหรือเจ้าหน้าที่ซึ่งผู้บริหารท้องถิ่นมอบหมายตามมาตรา 63 (3) หรือ (4) ต้องระวางโทษจําคุกไม่เกิน 6 เดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ
2. ผู้ใดไม่ปฏิบัติตามหนังสือเรียกของผู้บริหารท้องถิ่น ตามมาตรา 29 หรือของพนักงานประเมินตามมาตรา 45 หรือหนังสือเรียกหรือคําสั่งของผู้บริหารท้องถิ่นหรือเจ้าหน้าที่ซึ่งผู้บริหารท้องถิ่นมอบหมายตามมาตรา 63 (1) หรือ (2) ต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 2,000 บาท
3. ผู้ใดไม่แจ้งการเปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์ที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้างตามที่กําหนดไว้ใน มาตรา 33  ต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 10,000 บาท
4. ผู้ใดขัดขวางหรือไม่ปฏิบัติตามคําสั่งของผู้บริหารท้องถิ่นตามมาตรา 62 หรือทําลาย ย้ายไปเสียซ่อนเร้น หรือโอนไปให้แก่บุคคลอื่นซึ่งทรัพย์สินที่ผู้บริหารท้องถิ่นมีคําสั่งให้ยึด หรืออายัด ต้องระวางโทษจําคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ
5. ผู้ใดไม่ปฏิบัติตามหนังสือเรียกของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์การประเมินภาษีตาม มาตรา 80  ต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 2,000 บาท
6. ผู้ใดแจ้งข้อความอันเป็นเท็จหรือนําพยานหลักฐานอันเป็นเท็จมาแสดงเพื่อหลีกเลี่ยงการเสียภาษีต้องระวางโทษจําคุกไม่เกิน 2 ปี หรือปรับไม่เกิน 40,000 บาท หรือทั้งจําทั้งปรับ
7. ในกรณีที่ผู้กระทําความผิดเป็นนิติบุคคล ถ้าการกระทําความผิดของนิติบุคคลนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทําของกรรมการ หรือผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดําเนินงานของนิติบุคคลนั้น หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทําการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทําการจนเป็นเหตุให้นิติบุคคลนั้นกระทําความผิด ผู้นั้นต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้สําหรับความผิดนั้น ๆ ด้วย

»»  ความผิดตามข้อ 1 , 2 , 3 และ 5 ให้ผู้บริหารท้องถิ่นหรือผู้ซึ่งผู้บริหารท้องถิ่นมอบหมายมีอํานาจเปรียบเทียบกําหนดค่าปรับได้ และเมื่อผู้กระทําความผิดชําระเงินค่าปรับตามจํานวนที่เปรียบเทียบภายใน 30 วันให้ถือว่าคดีเลิกกัน ถ้าผู้กระทําผิดไม่ยินยอมตามที่เปรียบเทียบ หรือเมื่อยินยอมแล้วไม่ชําระเงินค่าปรับภายในระยะเวลาที่กําหนด ให้ดําเนินคดีต่อไป 

»»  เงินค่าปรับที่ได้จากการเปรียบเทียบตามพระราชบัญญัตินี้เกิดขึ้นในเขตองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นใดให้ตกเป็นรายได้ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นนั้น


การจัดเก็บภาษีป้าย

         ขั้นตอนการให้บริการ
1. ผู้มีหน้าที่เสียภาษีป้ายยื่นแบบแสดงรายการภาษีป้าย (ภ.ป.1)  พร้อมเอกสารประกอบ
2. เจ้าหน้าที่ตรวจสอบเอกสาร
3. ผู้มีหน้าที่เสียภาษีป้ายชำระเงินและรับใบเสร็จรับเงิน (ภ.ป.7)
         เอกสารประกอบการพิจารณา
1. บัตรประจำตัวประชาชน หรือ สำเนาบัตรประชาชน
2. ใบเสร็จรับเงินค่าภาษีป้ายปีที่ผ่านมา  (ภ.ป.7)
3. เอกสารต่างๆที่เกี่ยวข้องกับป้าย
4. ขนาดของป้าย
5. สำเนาทะเบียนบ้าน
6. สำเนาโฉนดที่ดิน

ภาษีป้าย

1. ป้ายที่ต้องเสียภำษี
          ป้ายที่ต้องเสียภาษี  ได้แก่ ป้ายที่แสดงชื่อ ยี่ห้อหรือเครื่องหมายที่ใช้ในการประกอบการค้าหรือประกอบกิจการอื่นๆ เพื่อหารายได้ หรือโฆษณาการค้า หรือกิจการอื่น  เพื่อหารายได้ ไม่ว่าจะแสดงหรือโฆษณาไว้ที่วัตถุใด ๆ ด้วยอักษร ภาพ หรือเครื่องหมาย  ที่เขียน แกะสลัก จารึก หรือทำให้ปรากฏด้วยวิธีอื่น
          หากในกรณีที่ไม่มีผู้มายื่นแบบแสดงรายการภาษีป้าย หรือเจ้าหน้าที่ไม่สามารถติดต่อหรือหาตัวเจ้าของป้ายได้ ให้ถือว่าผู้ครอบครองป้ายมีหน้าที่เสียภาษีป้าย แต่ถ้าหาตัวผู้ครอบครองป้ายไม่ได้ เจ้าของหรือผู้ครอบครองที่ดินที่ติดตั้งป้ายจะต้องเป็นผู้เสียภาษีป้ายแทน ตามลำดับที่กล่าวมาคู่มือการชำระภาษีท้องถิ่น

2. ป้ายที่ไม่ต้องเสียภำษี
1. ป้ายที่แสดงไว้ ณ โรงมหรสพ และบริเวณของโรงมหรสพนั้นเพื่อโฆษณามหรสพ
2. ป้ายที่แสดงไว้ที่สินค้า หรือสิ่งหุ้มห่อ หรือบรรจุสินค้า
3. ป้ายที่แสดงไว้ในบริเวณงานที่จัดขึ้นเป็นครั้งคราว
4. ป้ายที่แสดงไว้ที่คนหรือสัตว์
5. ป้ายที่แสดงไว้ภายในอาคารที่ใช้ประกอบการค้า หรือประกอบกิจการอื่นหรือภายในอาคารซึ่งเป็นรโหฐาน ทั้งนี้เพื่อหารายได้ และแต่ละป้ายมีพื้นที่ไม่เกิน 3 ตารางเมตรที่กำหนดในกฎกระทรวง แต่ไม่รวมถึงป้ายตามกฎหมายว่าด้วยทะเบียนพาณิชย์
6. ป้ายของราชการส่วนกลาง ราชการส่วนภูมิภาค หรือราชการส่วนท้องถิ่นตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน
7. ป้ายขององค์การที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายว่าด้วยการจัดตั้งองค์การของรัฐบาลหรือตามกฎหมายว่าด้วยการนั้นๆ และหน่วยงานที่นำรายได้ส่งรัฐ
ตัวอย่างป้ายที่ไม่ต้องเสียภาษีคู่มือการชำระภาษีท้องถิ่น
8. ป้ายของธนาคารแห่งประเทศไทย ธนาคารออมสิน ธนาคารอาคารสงเคราะห์ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตรและบรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย
9. ป้ายของโรงเรียนเอกชนตามกฎหมายว่าด้วยโรงเรียนเอกชน หรือ สถาบันอุดมศึกษาเอกชน ตามด้วยกฎหมายว่าด้วยสถาบันอุดมศึกษาเอกชนที่แสดงไว้ ณ อาคารหรือบริเวณของโรงเรียนเอกชน หรือสถาบันอุดมศึกษานั้น
10. ป้ายของผู้ประกอบการเกษตรซึ่งค้าผลผลิตอันเกิดจากการเกษตรของตน
11. ป้ายของวัด หรือผู้ดำเนินกิจการเพื่อประโยชน์แก่ศาสนาหรือการกุศลสาธารณะโดยเฉพาะ
12. ป้ายของสมาคมหรือมูลนิธิ
13. ป้ายตามที่กำหนดในกฎกระทรวง (ปัจจุบันมีฉบับที่ 2) กฎกระทรวง  ฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2535) ให้เจ้าของป้ายไม่ต้องเสียภาษีป้าย สำหรับ
13.1 ป้ายที่ติดตั้ง หรือแสดงไว้ในที่รถยนต์ส่วนบุคคล รถจักรยานยนต์รถบดถนน หรือรถแทรกเตอร์ ตามกฎหมายว่าด้วยรถยนต์
13.2 ป้ายที่ติดตั้ง หรือแสดงไว้ที่ล้อเลื่อน ตามกฎหมายว่าด้วยล้อเลื่อน
13.3 ป้ายที่ติดตั้งหรือแสดงไว้ที่ยานพาหนะนอกเหนือจาก 13.1, 13.2  โดยมีพื้นที่ไม่เกิน 500 ตารางเซนติเมตร

3. กำหนดระยะเวลาให้ยื่นแบบแสดงรายการเพื่อเสียภาษีป้าย
          ให้เจ้าของป้ายซึ่งจะต้องเสียภาษีป้ายยื่นแบบแสดงรายการภาษีป้าย (ภ.ป.1)  ภายในเดือนมีนาคมของทุกปี ในกรณีติดตั้งหรือแสดงป้ายภายหลังเดือนมีนาคม หรือติดตั้ง หรือแสดงป้ายใหม่แทนป้ายเดิม หรือเปลี่ยนแปลงแก้ไขป้ายอันเป็นเหตุให้ต้องเสียภาษีป้ายเพิ่มขึ้น ให้เจ้าของป้ายยื่นแบบแสดงรายการภาษีป้ายภายใน 15 วันนับแต่วันติดตั้ง หรือแสดงป้าย หรือนับแต่วันเปลี่ยนแปลงแก้ไข แล้วแต่กรณีคู่มือการชำระภาษีท้องถิ่นให้เจ้าของป้ายมีหน้าที่เสียภาษีป้ายโดยเสียเป็นรายปี ยกเว้นป้ายที่เริ่มติดตั้งหรือแสดงในปีแรกให้เสียภาษีป้ายตั้งแต่วันที่เริ่มติดตั้งหรือแสดงจนถึงวันสิ้นปี และให้คิดภาษีป้ายเป็นรายงวด งวดละ 3 เดือนของปี โดยเริ่มเสียภาษีป้ายตั้งแต่งวดที่ติดตั้งป้ายจนถึงงวดสุดท้ายของปี
          ในกรณีที่เจ้าของป้ายอยู่นอกประเทศไทย ให้ตัวแทนหรือผู้แทนในประเทศมีหน้าที่ยื่นแบบแสดงรายการภาษีป้ายแทนเจ้าของป้าย ถ้าเจ้าของป้ายตาย เป็นผู้ไม่อยู่เป็นคนสาบสูญ เป็นคนไร้ความสามารถ หรือเป็นคนเสมือนไร้ความสามารถ ให้ผู้จัดการมรดก ผู้ครอบครองทรัพย์มรดก ไม่ว่าจะเป็นทายาท หรือผู้อื่น ผู้จัดการทรัพย์สิน
ผู้อนุบาล หรือผู้พิทักษ์แล้วแต่กรณี มีหน้าที่ปฏิบัติการแทนเจ้าของป้าย

หมายเหตุ : เจ้าของป้ายผู้ใดติดตั้งหรือแสดงป้ายภายหลังเดือนมีนาคมให้เสียภาษีเป็นรายงวด

4.  อัตราภาษีป้าย  แบ่งเป็น 3 อัตรา  ดังนี้

เทศบาลเมืองนครปฐม ตำบลนครปฐม อำเภอเมือง จังหวัดนครปฐม

          การคำนวณภาษีป้าย ให้คำนวณโดย  นำพื้นที่ป้ายคูณด้วยอัตราภาษีป้าย  เช่น ป้ายที่ต้องเสียภาษีมีพื้นที่ 10,000 ตารางเซนติเมตร ถ้าเป็นป้ายประเภทที่ 2  คำนวณการเสียภาษี  ดังนี้ 10,000 x 26/500 = 520 บาท เท่านั้นเอง
เหตุให้ต้องเสียภาษีป้ำยเพิ่ม
1. ป้ายใด มีติดตั้งหรือแสดงป้ายใหม่แทนป้ายเดิมที่ชำรุด ซึ่งมีพื้นที่ ข้อความภาพ และเครื่องหมายอย่างเดียวกับป้ายเดิมที่ได้เสียภาษีไว้แล้ว เจ้าของป้ายไม่ต้องเสียภาษีป้ายเพิ่ม
2. ป้ายใด มีการเปลี่ยนแปลงแก้ไขพื้นที่ป้าย ข้อความ ภาพ หรือเครื่องหมายบางส่วนในป้ายที่ได้เสียภาษีไปแล้ว ป้ายที่เพิ่มข้อความ ชำระตามประเภทป้ายเฉพาะส่วนที่เพิ่ม ป้ายที่ลดขนาดไม่ต้องคืนเงินภาษีในส่วนที่ลด ถ้าเปลี่ยนขนาดต้องชำระใหม่

ฐานภาษี และ อัตราภาษี
ฐานภาษี และ อัตราภาษี คือ  เนื้อที่ของป้าย และ ประเภทของป้ายรวมกัน

ป้ายที่มีขอบเขต กำหนดให้การคำนวณพื้นที่ป้าย ดังนี้
ส่วนที่กว้างที่สุด X ส่วนยาวที่สุดของขอบเขตป้าย

ป้ายที่ไม่มีขอบเขต กำหนดให้การคำนวณพื้นที่ป้าย ดังนี้
ถือตัวอักษร ภาพ หรือเครื่องหมาย ที่อยู่ริมสุดเป็นขอบเขต เพื่อกำหนดส่วนที่กว้างที่สุดและยาวที่สุด แล้วคำนวณตามข้างต้น


5. ขั้นตอนกำรยื่นแบบภำษีป้ำย
อันดับแรก ต้องมาขอรับแบบแสดงรายการภาษีป้ายหรือ ภ.ป.1 แล้วกรอกข้อมูลให้ครบถ้วน ที่สำคัญ ต้องลงลายมือชื่อ พร้อมวัน เดือน ปีให้ชัดเจน จะมากรอกข้อมูลที่กองคลัง งานจัดเก็บรายได้ หรือส่งไปรษณีย์มาก็ได้ แล้วแต่ความสะดวกเมื่อผู้มีหน้าที่เสียภาษีเข้ามายื่นแบบภาษีป้ายต่อเจ้าหน้าที่ เจ้าหน้าที่จะออกไปสำรวจเพื่อตรวจสอบข้อเท็จจริงว่า ป้ายที่ติดตั้งอยู่นั้น มีข้อความ รูปภาพ ขนาดพื้นที่ป้ายตรงกับที่แจ้งยื่นแบบไว้หรือไม่ พร้อมถ่ายรูปไว้เป็นหลักฐานในการปรับปรุงข้อมูลให้เป็นปัจจุบัน

การชำะภำษีป้าย 
          ผู้รับประเมินได้รับหนังสือแจ้งการประเมินภาษี (ภ.ป.3) ให้ชำระเงินภายใน  15 วัน นับแต่วันที่ได้รับแจ้งการประเมิน โดยชำระภาษีได้ที่ กองคลัง งานจัดเก็บรายได้ องค์การบริหารส่วนตำบลนาดี การชำระภาษีป้ายจะกระทำโดยส่งธนาณัติ หรือตั๋วแลกเงินของธนาคารที่สั่งจ่ายแก่องค์การบริหารส่วนตำบลก็ได้ โดยส่งทางไปรษณีย์ลงทะเบียนและให้ถือว่าวันที่ได้ทำการส่งดังกล่าวเป็นวันชำระภาษีป้าย

6. เอกสารหลักฐานที่ต้องใช้ประกอบการยื่นแบบฯ
กรณีป้ายใหม่ ให้เจ้าของป้ายยื่นแบบเสียภาษี พร้อมสำเนาหลักฐานและลายมือชื่อรับรองข้อความถูกต้อง ได้แก่
»  ใบอนุญาตติดตั้งป้าย, ใบเสร็จรับเงินค่าทำป้าย
»  สำเนาทะเบียนบ้าน
»  บัตรประจำตัวประชาชน/บัตรข้าราชการ/บัตรพนักงานรัฐวิสาหกิจ/บัตรประจำตัวผู้เสียภาษี
»  กรณีเจ้าของป้ายเป็นนิติบุคคล ให้แนบหนังสือรับรองสำนักงานทะเบียน หุ้นส่วนบริษัท, ทะเบียนพาณิชย์ และหลักฐานของสรรพากร เช่น ภ.พ. 01, ภ.พ.09,ภ.พ.20

»  หนังสือมอบอำนาจ (กรณีไม่สามารถยื่นแบบได้ด้วยตนเองพร้อมอากรแสตมป์)
»  หลักฐานอื่นๆ ตามที่เจ้าหน้าที่ให้คำแนะนำ
กรณีป้ายเก่า ให้เจ้าของป้ายยื่นแบบเสียภาษีป้าย (ภ.ป.1) พร้อมใบเสร็จรับเงินการเสียภาษีครั้งสุดท้าย กรณีเจ้าของป้ายเป็นนิติบุคคลให้แนบหนังสือรับรองสำนักงานทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทพร้อมยื่นแบบ ภ.ป.1
          ในกรณีติดตั้งหรือแสดงป้ายภายหลังเดือนมีนาคม หรือติดตั้ง หรือแสดงป้ายใหม่แทนป้ายเดิม หรือเปลี่ยนแปลงแก้ไขป้ายอันเป็นเหตุให้ต้องเสียภาษีป้ายเพิ่มขึ้นให้เจ้าของป้ายยื่นแบบแสดงรายการภาษีป้ายภายใน 15 วัน นับแต่วันติดตั้งหรือแสดงป้ายหรือนับแต่วันเปลี่ยนแปลงแก้ไข แล้วแต่กรณี
          ถ้าผู้ขอผ่อนชำระภาษีไม่ชำระภาษีป้ายงวดหนึ่งงวดใดภายในกำหนดเวลาตามวรรคสอง ให้หมดสิทธิ์จะขอผ่อนชำระภาษี และให้นำมาตรา 25 (3) มาบังคับใช้สำหรับงวดที่ยังไม่ได้ชำระ

7. เงินเพิ่ม
มาตรา 25 ให้ผู้มีหน้าที่เสียภาษีป้ายเสียเงินเพิ่มนอกจากเงินที่ต้องเสียภาษีป้ายในกรณีและอัตราดังต่อไปนี้
1. ไม่ยื่นแบบแสดงรายการภาษีป้ายภายในเวลาที่กำหนด ให้เสียเงินเพิ่มร้อยละสิบของจำนวนเงินที่ต้องเสียภาษีป้าย เว้นแต่กรณีที่เจ้าของป้ายได้ยื่นแบบแสดงรายการภาษีป้ายก่อนที่พนักงานเจ้าหน้าที่จะได้แจ้งให้ทราบถึงการละเว้นนั้นให้เสียเงินเพิ่มร้อยละห้าของจำนวนเงินที่ต้องเสียภาษีป้าย 10%
2. ยื่นแบบแสดงรายการภาษีป้ายโดยไม่ถูกต้อง ทำให้จำนวนเงินที่จะต้องเสียภาษีป้ายลดน้อยลง ให้เสียเงินเพิ่มร้อยละสิบของภาษีป้ายที่ประเมินเพิ่มเติมเว้นแต่กรณีที่เจ้าของป้ายได้มาขอแก้ไขแบบแสดงรายการภาษีป้ายให้ถูกต้องก่อนที่พนักงานเจ้าหน้าที่แจ้งการประเมิน 10%

3. ไม่ชำระภาษีป้ายภายในเวลาที่กำหนด ให้เสียเงินเพิ่มร้อยละสองต่อเดือนของจำนวนเงินที่ต้องเสียภาษีป้าย เศษของเดือนให้นับเป็นหนึ่งเดือน
          ทั้งนี้ ไม่ให้นำเงินเพิ่มตาม (1) และ (2) มาคำนวณเป็นเงินเพิ่มตามอนุมาตรานี้ด้วย (ยื่นแบบแล้วไม่ชำระภายในกำหนดเพิ่ม 2%)
มาตรา 26 เงินเพิ่มมาตรา 25 ให้ถือว่าเป็นภาษีป้าย

8. บทกำหนดโทษ
มาตรา 34 ผู้ใดโดยรู้อยู่แล้วหรือโดยจงใจแจ้งข้อความอันเป็นเท็จ ให้ถ้อยคำเท็จตอบคำถามด้วยถ้อยคำอันเป็นเท็จ หรือนำพยานหลักฐานเท็จมาแสดงเพื่อหลีกเลี่ยงหรือพยายามหลีกเลี่ยงการเสียภาษีป้าย ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับตั้งแต่ห้าพันบาทถึงห้าหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
มาตรา 35 ผู้ใดจงใจไม่ยื่นแบบแสดงรายการภาษีป้าย ต้องระวางโทษปรับตั้งแต่ห้าพันบาทถึงห้าหมื่นบาท
มาตรา 35 ทวิ ผู้ใดไม่ปฏิบัติตามมาตรา 7 วรรคสาม ต้องระวางโทษปรับวันละหนึ่งร้อยบาทเรียงรายวันตลอดระยะเวลาที่กระทำความผิด
มาตรา 36 ผู้ใดไม่แจ้งการรับโอนป้ายตามมาตรา 16 หรือไม่แสดงการเสียภาษีป้ายตามมาตรา 19 ตรี ต้องระวางโทษปรับตั้งแต่หนึ่งพันบาทถึงหนึ่งหมื่นบาท
มาตรา 37 ผู้ใดขัดขวางการปฏิบัติการของพนักงานเจ้าหน้าที่ตามมาตรา 27 (1)  หรือไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของพนักงานเจ้าหน้าที่ซึ่งสั่งตามมาตรา 27 (2) ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหกเดือน หรือปรับตั้งแต่หนึ่งพันบาทถึงสองหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
มาตรา 38 ในกรณีมีผู้กระทำความผิดตามพระราชบัญญัตินี้ ถ้าผู้บริหารท้องถิ่นหรือผู้ซึ่งผู้บริหารท้องถิ่นมอบหมายเห็นว่าเป็นความผิดที่มีโทษปรับสถานเดียวหรือมีโทษจำคุกหรือปรับและโทษจำคุกไม่เกินหกเดือน ให้ผู้บริหารท้องถิ่นมีอำนาจเปรียบเทียบสถานเดียวได้ในกรณีดังต่อไปนี้
(1) ในเขตกรุงเทพมหานคร ให้ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครหรือผู้ซึ่งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครมอบหมาย เป็นผู้มีอำนาจเปรียบเทียบ
(2) ในเขตราชการส่วนท้องถิ่นอื่น ยกเว้น เขตกรุงเทพมหานคร ให้ผู้บริหารท้องถิ่นหรือผู้ซึ่งบริหารท้องถิ่นมอบหมายของแต่ละเขต เป็นผู้มีอำนาจเปรียบเทียบเมื่อผู้ต้องหาได้ชำระเงินค่าปรับตามที่เปรียบเทียบภายในสามสิบวัน นับแต่
วันที่มีการเปรียบเทียบ ให้ถือว่าคดีเลิกกันตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
ถ้าผู้ต้องหาไม่ยินยอมตามที่เปรียบเทียบ หรือเมื่อยินยอมแล้วไม่ชำระเงินค่าปรับภายในกำหนดเวลาดังกล่าว ให้ดำเนินคดีต่อไป
มาตรา 39 เงินค่าปรับตามพระราชบัญญัตินี้ ให้เป็นรายได้ของราชการส่วนท้องถิ่นนั้น
มาตรา 39 ทวิ ในกรณีที่ผู้กระทำความผิดซึ่งต้องรับโทษตามพระราชบัญญัตินี้เป็นนิติบุคคล กรรมการผู้จัดการ ผู้จัดการ หรือผู้แทนของนิติบุคคลนั้น ต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้นๆ ด้วย เว้นจะพิสูจน์ได้ว่าตนมิได้รู้เห็นหรือยินยอมในการกระทำความผิดของนิติบุคคลนั้น







การชำระค่าขยะมูลฝอย / ค่าธรรมเนียมอื่น ๆ

         ขั้นตอนการให้บริการ
- ผู้มีหน้าที่ชำระค่าขยะมูลฝอย / ค่าธรรมเนียมอื่น ๆ ติดต่อเจ้าหน้าที่
         เอกสารประกอบการพิจารณา
- แจ้งที่อยู่ / เอกสารที่เกี่ยวข้อง

ติดต่อในเวลาราชการ 8.30 น.- 16.30 น.
 
 
 
 
 
เบอร์โทรศัพท์ 0-4450-8066 เบอร์โทรสาร 0-4450-8013
การแสดงผลบนหน้าเว็บไซต์จะสมบูรณ์ที่สุดในระบบ Google Chrome, Mozilla Firefox, Microsoft Internet Explorer 10 ขึ้นไป
สงวนลิขสิทธิ์ © โดย
MD digital solutions ติดต่อ Admin : 0-9023-46527
หน้าแรก  I  สถานที่สำคัญ  I  ผลิตภัณฑ์ตำบล  I  กระดานถาม-ตอบ  I แผนที่ตั้งอบต.  I  แผนผังเว็บไซต์  I ติดต่ออบต.